Explorez tous les épisodes de 3 ใต้ร่มโพธิบท
Date | Titre | Durée | |
---|---|---|---|
25 Jan 2022 | อนุปุพพิกถา เรื่องของทาน [6504-3d] | 00:58:01 | |
ทานกถา เป็นหนึ่งในห้าข้อของอนุปุพพิกถาที่ท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ตามลำดับเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระ ทาน หมายถึง การให้หรือการสละออก ซึ่งตรงกันข้ามกับการตระหนี่หรือการหวงกั้น ทาน ยิ่งให้ยิ่งได้ เพราะการให้ทาน ทำให้ได้ละความตระหนี่ ทำให้ได้บุญ ทำให้ได้ความเบาสบายขึ้นในจิตใจ เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา ทาน และอานิสงส์ของทานมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยปรุงแต่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้รับ ผู้ให้ ของที่ให้ หรือแม้แต่เรื่องของเวลาในการให้ นอกจากนี้ยังมีทานที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก นั่นคือ การสละราคะ โทสะ โมหะ ออกเป็นทาน โดยที่ไม่ต้องมีผู้รับ เป็นทานที่เมื่อสละออกแล้ว มีผลไปถึงโลกุตระได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
29 Sep 2020 | ประตูสู่ความเสื่อมและความเจริญ 6340-3d | 00:57:52 | |
หัวข้อที่ยกขึ้นในวันนี้ก็คือ ปากทางแห่งความเสื่อม และปากทางแห่งความเจริญ คือ ทางที่มันจะไปดีหรือไม่ดี สู่ความเจริญหรือความเสื่อม ทางนั้นก็ต้องผ่านประตู ทางเป็นมรรค ส่วนประตูก็ คือ มุขนั่นเอง เราจะเลือกไปทางไหน ช่องทางแห่งความเสื่อมเราเรียกว่า อบายมุข ที่ถ้าเราไปไม่ดีไม่ว่าจะเป็นอบายมุข 4 หรืออบายมุข 6 มันก็คือ มิจฉามรรค มีที่หมายคือ อบาย 4 แต่ถ้ามาตามทางไม่ว่าจะเป็นวัฒนมุข วุฒิธรรม 4 เหล่านี้อยู่ในมรรค 8 เป็นสัมมามรรค ที่ให้เกิดความเจริญความดีขึ้น ไปสู่ภูมิมนุษย์ เทวดา พรหม หรือว่าจบที่นิพพานได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
18 Aug 2020 | รถ 7 ผลัดเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน 6334-3d | 00:56:56 | |
ในตอนนี้จะได้นำเสนอเรื่องราวซึ่งเป็นอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบด้วยรถ 7 ผลัด ที่ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้กล่าวเป็นคำถามและคำตอบไว้กับท่านพระสารีบุตร โดยในความเป็นไปอันแท้จริงแล้ว ข้อความถามทั้งหมดเป็นหัวข้อที่ท่านพระสารีบุตรได้กำหนดขึ้นเพื่อให้ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ตอบ โดยไล่เรียงไปตามความบริสุทธิ์ 7 ขั้น ขอเชิญรับฟัง "ความบริสุทธิ์หมดจด 7 อย่าง หรือ วิสุทธิ 7" ได้ในตอนนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
23 Jul 2019 | เหตุแห่งการเกิดของชีวิต 6230-3d | 00:54:57 | |
"อินทรีย์คือชีวิต เป็นสิ่งที่มีการรับรู้ได้ และมีใจเป็นที่แล่นไปสู่" ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกับพระมหาโกฏฐิตะไว้ใน มหาเวทัลลสูตร…"เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัยเปลว ปรากฏอยู่ เปลวก็อาศัยแสงสว่างปรากฏอยู่ฉันใด อายุอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน" กล่าวคือ เปลวไฟจะเกิดขึ้นอยู่ได้ ต้องมีเหตุปัจจัย คือ ความร้อน ออกซิเจน และเชื้อเพลิง ซึ่งต้องมีในปริมาณพอเหมาะพอสมจึงเกิดขึ้นได้ เป็นปฏิกิริยาห่วงโซ่ (Exothermic Chain Reaction) ถ้าความร้อนที่ผลิตจากเปลวไฟไม่มากพอ เปลวไฟนั้นจะอ่อนลงและดับไป ใน ปายาสิราชัญญสูตร พระกุมารกัสสปะได้ปรับแก้ทิฏฐิของพระเจ้าปายาสิในเรื่อง "แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี" โดยยก อุปมาด้วยก้อนเหล็กร้อน ขึ้นมาอธิบาย…"เมื่อร่างกายนี้ยังมีอายุ มีไออุ่นและมีวิญญาณจะมีน้ำหนักเบากว่า อ่อนนุ่มกว่า และปรับตัวได้ง่ายกว่า แต่เมื่อร่างกายนี้ไม่มีอายุไม่มีไออุ่นและไม่มีวิญญาณ จะมีน้ำหนักมากกว่า แข็งกระด้างกว่า และปรับตัวได้ยากกว่า" กล่าวคือ ของที่ร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าของที่เย็น และยก อุปมาด้วยการเป่าสังข์ ขึ้นมาอธิบายด้วย…"…เมื่อสังข์นี้มีคน มีความพยายาม และมีลมจึงส่งเสียงได้ แต่เมื่อสังข์นี้ไม่มีคน ไม่มีความพยายาม และไม่มีลม ก็ส่งเสียงไม่ได้" กล่าวคือ จะต้องมีคน มีสังข์ มีความพยายามที่ถูกต้อง จึงจะมีเสียงสังข์เกิดขึ้นได้ การที่มีตัวคนชื่อนั้นชื่อนี้เกิดขึ้นมาได้ เพราะอาศัยไออุ่นคือกรรมเก่า อาศัยการประกอบกันของธาตุ 4 รวมกันเป็นชีวิตอินทรีย์ขึ้นมา และอาศัยวิญญาณมันจึงตั้งอยู่ได้ สิ่งที่เป็นเหตุให้เราสร้างกรรม เป็นตัวสืบเนื่องไป เป็นตัวเชื่อมต่อ ๆ ไปเป็นปฏิกิริยาห่วงโซ่ ต่อไปและต่อไป นั่นคือ ตัณหาที่มันสร้างราคะ โทสะ โมหะขึ้นมาเป็นเหตุของกรรม อาสวะมันจึงเกิดขึ้น เมื่ออาสวะเกิดขึ้นเป็นเหตุของอวิชชา ทำให้ความรู้สึกว่าเป็นตัวตนของเราในขันธ์ 5 สังขารการปรุงแต่งมันจึงแทรกซึมเข้าไปต่อไปและต่อไป มีกรรมคือเจตนา มีกรรมคือสังขารการปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจต่อไปและต่อไปตามการกระทำที่ขึ้นอยู่กับราคะ โทสะ โมหะ ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยนี้จึงมีกรรม จึงมีการปรุงแต่งรวบรวมเอาธาตุ 4 ขึ้นมาเป็นแบบนี้ มีอายตนะใหม่ มีการเกิดใหม่…ถ้ายังมีเหตุแห่งการเกิดอีก มีปรุงแต่งต่อไปอีก มีกรรมต่อไปอีก ก็เกิดใหม่อีกต่อไปและต่อไป ไฟคือชีวิตอินทรีย์นี้ไม่เคยดับเลย หมดชาตินี้แล้ว ก็มีชาติต่อไปและต่อไป แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร Ep.53, Ep.48, ใต้ร่มโพธิบท Ep.57 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
21 Jan 2020 | ตาลบุตร นักแสดง 6304-3d | 01:09:09 | |
นี้เป็นเรื่องราวที่มาใน ตาลปุตตสูตร ว่าด้วยปัญหาของนักเต้นรำชื่อว่าตาลบุตร ได้ไปเข้าเฝ้าฯ พระพุทธเจ้าและทูลถามปัญหาเกี่ยวกับทิฏฐิที่เชื่อกันว่า บุคคลผู้ที่สร้างความสนุกสนานให้แก่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นนักเต้นรำ นักแสดง เป็นต้น เมื่อตายไปจะเข้าถึงการได้เป็นสหายแห่งเทวดาผู้ร่าเริง เป็นจริงหรือไม่ ประเด็นสำคัญในที่นี้ คือ เมื่อนายตาลบุตร ได้เห็นแล้วว่าตนมีความเห็นผิดมาตลอด เป็นดั่งเช่น บุรุษตามืดบอด ผู้ถูกลวงด้วยผ้าเนื้อเลวเปื้อนเขม่า ก็ขอออกบวช และในระหว่างที่บวชนั้น พระตาลปุตตะ ได้มากระทำในใจโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) จากจิตใจที่ร้องเล่นเต้นรำมาตลอด มีเรื่องเล่าเรื่องราวต่าง ๆ (fiction) ในหัวอยู่ตลอด จะให้มานั่งสมาธิ ก็ทำได้ยาก มันไม่สงบ มันวุ่นวายฟุ้งซ่าน คิดถึงแต่ละครตัวนั้นตัวนี้ เรื่องราวนั้นเรื่องราวนี้ หรือแม้ใครก็ตามที่เป็นอย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน เรื่องธุรกิจใด ๆ ที่ต้องมีการคิดอ่านอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนเราคุยอยู่กับตัวเอง มีเพื่อนสองตลอดเวลา เมื่อพระตาลปุตตะใคร่ครวญพิจารณาจนมาถึงจุดที่ว่า คุยกบจิตของตัวเองรู้เรื่อง ซึ่งได้กล่าวไว้ใน "ตาลปุฏเถรคาถา" ถึง วิธีการทำในใจของท่านจากจิตที่มันไม่สงบ คิดมาก ฟุ้งซ่านวุ่นวาย ได้มีการไตร่ตรองใคร่ครวญอย่างไรจึงสามารถบรรลุธรรม มาทำความเข้าใจกันได้ในเอพิโสดนี้ ตาลปุตตสูตร [๕๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนายคามณี เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้กะเราเลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูกรนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะอันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นักเต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูกรนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ฯ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร S08E52 , ขุดเพชรในพระไตรปิฎก S03E07 , S03E06 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
02 Aug 2022 | มงคลชีวิต 4 # สิ่งที่ควรบูชา [6531-3d] | 01:01:39 | |
‘ปูชา จ ปูชนียานํ’ การบูชาสิ่งที่ควรบูชา ในทางพุทธศาสนา ได้แก่ การบูชาในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ การบูชาจำแนกได้ 4 รูปแบบ เริ่มจาก การชื่นชอบในการคบหาบัณฑิตนั้น นับเป็นการบูชาอย่างหนึ่ง คือ ‘ปัคคัณหะ’ เมื่อชื่นชอบจึงมีการนำธูปเทียน ของหอม และสิ่งของไป ‘สักการะ’ เป็นอามิสบูชา และเมื่อมี ‘สัมมานะ’ คือ ศรัทธาตั้งมั่น จึงมีการ ‘ปฏิบัติบูชา’ ในที่สุด ‘การบูชา’ ไม่ใช่ ‘ความงมงาย’ การเตรียมเครื่องบูชานั้น เป็นเหมือนอุปกรณ์ เป็นเหมือนเครื่องนำ ทำให้จิตใจของเรามีความนิ่มนวล เกิดความดีงามขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ ‘ความกตัญญู’ ก็ต่างจาก ‘การบูชา’ การกระทำตอบจึงควรยึดหลักศีลธรรมเป็นพื้นฐาน ทั้งนี้ การบูชายังเกิดอานิสงส์ คือ เป็นการไล่เสนียด ป้องกันการหลงผิด อบรมจิตให้ดีขึ้น และผลในทางปาฎิหาริย์อีกด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
28 Apr 2020 | ความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับอริยบุคคล 6318-3d | 00:59:54 | |
เมื่อฟังธรรมแล้ว เรารู้ว่า "เราไม่รู้อะไร" ยังดีกว่าที่ว่า เราไม่รู้ว่า "เราไม่รู้อะไร" ตรงจุดนี้จึงจะมาทำความเข้าใจกันไปในทีละประเด็น เพื่อให้ความไม่รู้เริ่มหายไป และเริ่มมีความรู้ในสิ่งที่ไม่รู้นั้น ในเอพิโสดนี้ จึงได้ยกหัวข้อที่มาใน "สัลลัตถสูตร"ว่าด้วยเวทนาเปรียบด้วยลูกศร ขึ้นมาอธิบาย พระพุทธเจ้าทรงอุปมาเปรียบเทียบไว้กับคนที่ถูกยิงด้วยลูกศร แล้วมีเวทนาเกิดขึ้น เปรียบเทียบระหว่าง อริยบุคคลผู้มีการสดับ ที่เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็แค่ทางกายเท่านั้น จะไม่เกิดเวทนาทางจิต เหมือนถูกยิงด้วยลูกศรเพียงดอกเดียว แต่สำหรับ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ นั้น เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นทางกายแล้ว ก็จะมีเวทนาเกิดขึ้นทางจิตด้วย เหมือนถูกยิงด้วยลูกศร 2 ดอก ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจในที่นี้ก็คือ เวทนาทางกายเข้ามาทางใจได้อย่างไรมีธรรมะใดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เวทนาซึมซาบเข้าสู่จิตได้ และกรณีเมื่อมีอนุสัยตามนอนเนื่องอยู่ในจิตแล้ว จะมีอุบายนำออกใด ที่จะทำให้อนุสัยซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดหลุดลอกออกไปจากจิตใจของเราได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E22 ,ใต้ร่มโพธิบท S07E62 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
22 Oct 2019 | ความพรั่งพร้อมสูงสุดแห่งสงฆ์ 6243-3d | 00:48:30 | |
สืบเนื่องจากคลังพระสูตรที่ได้ยก "ทักขิณาวิภังคสูตร" ขึ้นมา กล่าวถึงทักษิณาปาฏิปุคคลิก 14 ไว้ และในงานบุญกฐินที่ผ่านมา จึงยกหัวข้อธรรมในเรื่องของ "จุดสูงสุดของความพรั่งพร้อมแห่งสงฆ์" ขึ้นมาทำความเข้าใจในรายละเอียดกัน "กฐิน" เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผ้า เกี่ยวกับสงฆ์คือหมู่ที่มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์ทั้งสองฝ่าย ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ว่ายอดเงินคุณจะได้เท่าไหร่ ไม่ได้อยู่ที่ว่าคนมาร่วมงานจะมีมากไหม มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์หรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขคือ ความบริสุทธิ์ของทั้งของฝ่ายนักบวชและฝ่ายคฤหัสถ์รวบรวมกันมาแล้ว โดยฝ่ายผู้ให้มีศรัทธาไม่มีความตระหนี่ มีมากก็ให้มาก ให้ด้วยความพอใจไม่หวงแหนทรัพย์ที่มีอยู่ บางคนทุ่มสุดตัวเลยด้วยซ้ำ มีหลัก ๆ นั่นคือผ้า สิ่งอื่น ๆ นั้นก็เป็นองค์ประกอบ ตามมาเป็นความงดงามในการงานแบบนี้ ถ้ามีโอกาสเจอหมู่ที่มีความพรั่งพร้อมแบบนี้ทั้งเหล่านักบวชและฝ่ายคฤหัสถ์ เราจะบูชาด้วยอะไร? "หมู่" นี้ก็หมายถึงตัวเราด้วย ถ้าเราบูชาด้วยความตระหนี่ หมู่นั้นก็มีความบริสุทธิ์น้อยลง แต่ถ้าเราบูชาด้วยศรัทธา อันนี้ก็ดีขึ้นมา มีศรัทธาแล้วมีศีลหรือไม่ มีศีลแล้วก็ดีขึ้นไปอีก มีศีลแล้วคุณรู้จักข้อธรรมในการที่จะแบ่งจ่ายทรัพย์หรือไม่ ถ้ารู้จักการแบ่งจ่ายทรัพย์ที่ดีให้ของที่มีอยู่ไม่ซ่อนของของตน ไม่มีความตระหนี่รู้จักการแบ่งจ่ายทรัพย์ อันนี้ก็ดีขึ้นไปอีก ดีกว่านั้นก็ยังมีอีกอยู่ที่ว่าเราจะบูชาด้วยคุณธรรม ด้วยข้าวของสิ่งของอย่างใด ๆ ก็เพิ่มเติมเข้าไป ให้เราตั้งศรัทธาไว้ถ้าเผื่อว่าเรามีความตระหนี่คิดว่าฉันไม่มีฉันทำแค่นี้ อันนี้คุณจะพลาดโอกาสแต่ถ้าเราตั้งศรัทธาไว้อย่างดี ไล่ไปตามลำดับมีการสละความตระหนี่ บูชาความพรั่งพร้อมสูงสุดแห่งสงฆ์ด้วยสิ่งที่เป็นสูงสุดของเราอันนี้มันจะเป็นความดีงามมาก "พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์ผู้เป็นเขตอันเลิศ รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการแจกจ่ายทานนั้น ๆ ใครจะไม่พึงบูชา (ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า ประโยชน์อย่างยิ่งนั้นของผู้แสดงและผู้ฟังทั้ง ๒ ผู้มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคต ย่อมหมดจดประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนของพระสุคต ย่อมหมดจด ฯ"…ทานสูตร แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists:คลังพระสูตร S09E01 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
11 Aug 2020 | ปัญญาของบุคคล 3 ระดับ 6333-3d | 00:48:43 | |
ในเรื่องปัญญาของบุคคล 3 ระดับนี้ เป็นเรื่องของการฟังธรรมคือ ฟังธรรมแล้ว จำได้ไหม? แนวทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เป็นยังไง? จำได้แล้ว เอาไปทำได้ไหม? นี่คือสิ่งที่สำคัญ สิ่งสำคัญที่จะพัฒนาปัญญา จากลักษณะเป็นหม้อคว่ำ คือ จำอะไรไม่ได้เลย มาเป็นหม้อหงายได้ นั่นคือให้มีการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เอาไปให้ได้ อย่าให้อยู่เฉพาะกับพระ อยู่กับตำรา หรือ ว่าอยู่กับรายการวิทยุนี้ เอาไปให้ได้ เอาไปพัฒนาใช้ให้ได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
17 Mar 2019 | ให้รางวัลตนด้วยมรรค8 6212-1d | 00:52:55 | |
ยกกรณีการเกิด โยโย่เอฟเฟค (YOYO Effect)ขึ้นมา เปรียบเทียบสภาวะทางจิตของผู้ที่ตั้งเป้าหมายในชีวิตที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ แต่พอสำเร็จแล้ว ทำไมมันถึงคืนคลายกลับมาเป็นอย่างเดิม ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นคือ ผัสสะ มันจะก่อให้เกิดเวทนา เวทนาตรงนี้ที่เราเสพติดได้ คำว่า “เสพติด” คือ มีความพอใจ กำหนัด ยินดี ลุ่มหลง เพลิดเพลินไปในพฤติกรรมคือผัสสะแบบนั้น ๆ ก็จึงทำอยู่เรื่อย ๆ ยิ่งทำยิ่งมีเวทนาอย่างนี้มากขึ้น ยิ่งเสพติด ยิ่งพอใจ ยิ่งกำหนัด ยิ่งยินดี จนเกิดเป็น กามนุสัย/กามราคานุสัย เป็นนิสัย เป็นความเสพติดที่ติดอยู่ในจิตใจของเราหลักการที่สำคัญ 3 อย่าง คือ อย่าให้รางวัลตัวเองด้วยเรื่องของกาม, ต้องให้รางวัลตัวเองด้วยเรื่องของมรรค8, เพิ่มกำลังใจของเราให้มีมากขึ้นได้ด้วยการนั่งสมาธิอย่างเป็นรูปแบบ ใคร่ครวญพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงไปในกายของเรา เห็นเป็นสิ่งที่ไม่น่าดูไม่สวยงาม เห็นโดยความที่มันอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ผลที่จะเกิดขึ้นนั้น คือ ความคิดที่เป็นไปทางกามที่เราลุ่มหลงเพลิดเพลินอยู่นั่น มันจะค่อยจางลงเบาบางลง จะทำให้เลิกพฤติกรรมอะไรที่มันไม่ดีได้แน่นอน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
06 Aug 2019 | พุทธลีลาในการสอน 6232-3d | 00:58:26 | |
อ้างอิงมาใน อัมพัฏฐสูตร และ ปราภวสูตร จะเห็นถึง พุทธลีลาในการสอนของพระพุทธเจ้าในแต่ละครั้ง ที่มีลักษณะเทศนาวิธี 4 คือ 1) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด 2) สมาทปนา ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ 3) สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า และ 4) สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง รูปแบบการสอน 4 คือ 1) แบบสนทนา 2) แบบบรรยาย 3) แบบตอบปัญหา และ 4) แบบวางเป็นข้อบังคับ และในรูปแบบการตอบปัญหานั้น ท่านได้แบ่งวิธีการตอบไว้ 4อย่างด้วยกัน คือ ตอบตรงไปตรงมา ตายตัว, มีการย้อนถามแล้วจึงตอบ, มีการเพิ่มเติมในคำตอบ และนิ่งไม่ตอบเลย นอกจากนี้ยังมีกลวิธีและอุบายประกอบการสั่งสอนอื่น ๆ อีก ที่จะเห็นได้จากเนื้อหาในพระไตรปิฏก สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้กับพระอานนท์ว่า "การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำโดยง่าย" ผู้แสดงธรรม หรือที่เรียกว่า"ธรรมกถึก" พึงตั้งธรรม 5 ประการ เหล่านี้ไว้ในใจ ได้แก่ กล่าวความไปตามลำดับ, ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ, แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา, ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส และแสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ขุดเพชรใน พระไตรปิฏก Ep.15 , ใต้ร่มโพธิบท Ep.49 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
29 Dec 2018 | ทบทวน ใคร่ครวญ เพื่อปัญญาอันแจ่มแจ้ง 6152-7d | 00:56:52 | |
ทบทวนกับคำสอนที่ใช้อุปมาอุปไมยของพระพุทธเจ้า ในรอบปีที่ผ่านมาในช่วงท้ายรายการ พระอาจารย์มหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ได้ให้ข้อคิดในการใช้ชีวิตเพื่อต้อนรับศักราชใหม่ปี พ.ศ. 2562 ไว้ว่า “แต่ละรอบที่ผ่านไป ๆ อันนี้ก็คือสั้นลง ๆ เราก็เข้าถึงจุดที่จะมีการเปลี่ยนแปลง เทวฑูตปรากฏแน่ไม่อันใดก็อันหนึ่ง ในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่จุดใดจุดหนึ่ง เราต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาท ลองทบทวนดูว่า ชีวิตของเราเป็นอย่างไรบ้าง ดีมีขึ้นบ้างมั้ย อะไรที่มันไม่ดีแล้วสละออกได้บ้างมั้ย ทบทวนใน 4 อย่าง พระพุทธเจ้าอธิบายในเรื่องการใคร่ครวญแล้วให้มันมาถูกทางในการทำจริงแน่วแน่จริงที่ไม่ดีไม่เคยมี แล้วมันมีเพิ่มขึ้นมั้ย เราป้องกันอย่าให้มันมีที่ไม่ดีที่มีอยู่ลดลงบ้างมั้ยความดีอะไรที่มีอยู่ พัฒนาขึ้นมั้ยและความดีอะไรที่เราไม่มีเลย คุณฝึกทำได้มั้ย มีเพิ่มขึ้นมั้ย ทบทวนดู ตรงไหนมีรูรั่วเราแก้ไข พอเราทบทวนอย่างนี้ ถือว่าวันคืนที่ผ่านไปไม่สูญเปล่า อาตมาก็อยากจะอวยพรให้ท่านผู้ฟังทั้งหลายเป็นผู้ที่สามารถตั้งตนได้ ตั้งตนได้ให้อยู่ในศีล ตั้งตนได้ให้อยู่ในสติ พอเราตั้งต้นในศีลในสติแล้ว มีปัญญารักษาตัว ปัญญาที่รักษาตัวของเราจะเป็นเหมือนกับเกราะป้องกันสิ่งต่างๆที่เป็นภัยอันตรายให้แคล้วคลาดปลอดภัย สติที่เรามี เราจะมีดวงตาที่จะเห็นช่องทางที่ทำกิน เห็นช่องทางในการที่จะไปให้รอดพ้น ให้มีความสำเร็จในชีวิตได้แน่นอน ขออวยพรทุกท่านทุกคนเลย….เจริญพร” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
20 Sep 2022 | มงคลชีวิต 11 # มีวาจาสุภาษิต [6538-3d] | 01:01:17 | |
‘วาจา’ มีทั้งที่เป็นสุภาษิต และทุพภาษิต อย่างไรก็ตาม การฝึกให้มี ‘วาจาสุภาษิต’ วาจาที่ไม่มีโทษ จะก่อให้เกิดอานิสงส์ และมงคลแก่ชีวิตของเราได้ โดยในอังคุตตรนิกาย ‘วาจาสูตร’ นั้นมีองค์ 5 ประการ ได้แก่ พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดคำอ่อนหวาน พูดคำประกอบด้วยประโยชน์ และพูดด้วยเมตตาจิต ‘พูดถูกกาล’ นั้น ต้องพิจารณาถึง เวลา สถานการณ์ และสถานที่ที่จะพูด ‘พูดคำจริง พูดคำอ่อนหวาน และพูดคำประกอบด้วยประโยชน์’ นั้น เป็นส่วนของคำพูด ซึ่งต้องพิจารณาใคร่ครวญ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากที่พูดไปแล้วด้วย ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น และ ‘พูดด้วยเมตตาจิต’ นั้น เป็นเจตนาให้ผู้ฟังได้ดี ได้ประโยชน์โดยไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน คือ มีเมตตาจิตเป็นพื้นฐาน ซึ่งยังรวมถึง เจตนาที่จะไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดยุยงให้แตกกัน และไม่พูดเพ้อเจ้อ อีกด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
30 Apr 2019 | มีธรรมคุ้มใจ อาชญาก็ไม่ต้องใช้ ศาสตราก็ไม่ต้องกลัว | 00:56:40 | |
ในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา แต่อาชญา ศาสตรา มันมีอยู่ในโลก ที่การกำหนดบทลงโทษ ใช้ทั้งอาชญาและใช้ศาสตรา ใช้กฎหมายบังคับให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย แต่นี้เป็นการแก้ไขป้องกันในระยะสั้น ในธรรมวินัยนี้ไม่ใช่จะใช้อาชญาหรือศาสตราในการลงโทษ แต่ใช้หลักที่ว่า สิ่งใดที่เป็นกุศลหรืออกุศล เป็นความเชื่อที่ถูกต้องในเรื่องของกรรม ผลของกรรม และการปฏิบัติตามทางมรรค 8 เป็นการแก้ไขป้องกันในระยะยาว “หิริโอตตัปปะ” เป็นธรรมะที่ใช้คุ้มครองใจ ที่บุคคลจะเกิดความละอาย และความเกรงกลัวต่อบาป ต่อการกระทำไม่ดี ที่เมื่อเรากระทำแล้ว จะมีความกลัวต่อการติเตียนตนด้วยตน, มีความกลัวต่อการติเตียนจากผู้อื่น, มีความกลัวต่ออาชญา และมีความกลัวต่อทุคติ ความกลัวความละอายที่เกิดขึ้น จะทำให้เราจะสามารถแก้ไขปรับปรุงตัวของเราเองได้โดยไม่ต้องไปถึงจุดที่ต้องใช้อาชญา ใช้ศาสตรา คนที่มาปฏิบัติธรรมได้จะไม่ใช่ด้วยการบังคับ แต่เกิดจากการสมัครใจ เกิดจากหิริโอตตัปปะที่มีอยู่ในใจ จึงสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ Time Index [00:01] เริ่มการปฏิบัติด้วยการพิจารณาเข้ามาในกายของตนเอง ตั้งสติไว้ในกาย คือ กายคตาสติ เห็นกายโดยความเป็นจริง โดยเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นอนัตตา จะมีความหน่าย มีความคลายกำหนัด ปล่อยวางได้ ละความยึดถือได้ [13:07] แผ่เมตตา [16:00] พุทธภาษิต เรื่อง “การปรินิพพานทำให้มหาชนเดือดร้อน” [19:54] ใต้ร่มโพธิบท เรื่องของ “อาชญาและศาสตรา” เปรียบเทียบให้เห็นว่าในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา แต่อาชญา ศาสตรา มันมีอยู่ในโลก [21:02] ความกลัวต่ออาชญา ความกลัวต่อศาสตรา จึงไม่ทำบาป [22:55] พุทธพจน์ “เทวทูตสูตร” (การสั่งลงโทษของพระราชา) [29:33] ความกลัวต่อคำด่าว่าของคนอื่น [30:00] ความกลัวต่อการติเตียนตน [34:58] ความกลัวต่อนรก มหานรก [48:22] หิริโตตัปปะ [53:06] สรุป กรรมดีมีความชั่วมี กฏแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ แก้ไขปรับปรุงชีวิตเราให้ดีด้วยปฏิบัติตามมรรค อาชญาก็ไม่ต้องใช้ ศาสตราก็ไม่ต้องกลัว Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
12 May 2020 | สัมมาสติ 6320-3d | 01:01:26 | |
ในเอพิโสดนี้ มาทำความเข้าใจกันต่อในหัวข้อของ “สัมมาสติ” ที่เป็นสิ่งสำคัญในการทำความเพียรทางจิต เป็นส่วนเริ่มแรกของสมาธิ เพราะสัมมาสติจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ ใน “มหาสติปัฏฐานสูตร” พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับชาวกุรุถึงการพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ซึ่งเป็นฐานธรรมชาติที่เป็นเหตุให้เกิดสติ โดยมีข้อความในส่วนที่สำคัญ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงเน้นย้ำ กล่าวซ้ำ ๆ กันอยู่ในแต่ละข้อ ๆ คือ “…มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้” ดังนั้น “สัมมาสติ” ตามนัยของพระพุทธเจ้า จึงหมายถึง ความระลึกได้ ที่เมื่อเราระลึกให้มันถูก จะมีลักษณะที่ทำให้กิเลสมันลดลง เป็นไปเพื่อปัญญาในการถอนความพอใจและความไม่พอใจในอารมณ์ต่าง ๆ ออกได้ ซึ่งจะตรงข้ามกับความเพลิน ที่จะทำให้จิตคล้อยตามไปในอารมณ์ที่มากับผัสสะทั้งหลาย เกิดเป็นความพอใจหรือไม่พอใจขึ้น ความเพลินนั้น คือ อุปาทาน พระพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบไว้ว่า “…จิตของเรา เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก” ซึ่ง ผาล เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำนา เพราะเป็นส่วนที่จะเปิดหน้าดินออก เป็นจุดที่เหล็กสัมผัสกับดิน เพื่อคุ้ยดินให้แยกออกจากกัน “สติ” จึงเป็นตัวที่แยกแยะความดีความไม่ดี แยกสิ่งที่มันเหนียวติดกันอยู่ให้เคลื่อนออกจากกัน จุดที่แยกออกแล้วนั้น มันจึงเป็นความพ้นจากกัน “สติจึงมีความพ้นคือวิมุตติเป็นที่แล่นไปสู่” เราจึงต้องฝึกสติให้มีกำลังมาก ๆ ให้ทำอยู่เป็นประจำ จนเกิดเป็นทักษะ ให้เจริญสติอยู่ได้ตลอดในขณะดำเนินชีวิตประจำวัน สติที่มีกำลังจะพาไปสู่ความพ้นได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E07 , S07E43 , ใต้ร่มโพธิบท S08E30 , S08E22 , S08E21 , S08E20 , คลังพระสูตร S09E07 , #อนุสติสิบคือสติปัฏฐานสี่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
23 Aug 2022 | มงคลชีวิต 7 # ตั้งตนไว้ชอบ [6534-3d] | 01:02:42 | |
‘อตฺตสมฺมาปณิธิ จ’ หมายถึง ตั้งตนไว้ชอบ ในที่นี้คือ การตั้งจิต เพื่อรักษากาย และจิตใจ ให้อยู่ในทางที่เป็นกุศลธรรมในปัจจุบัน ซึ่งท่านพระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ทางที่ปลอดภัยไว้ให้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง การ ‘ตั้งจิตไว้ถูก’ ไม่ว่าจะเจอผัสสะที่น่าพอใจหรือไม่ นั่นจึงเป็นมงคล ท่านยังทรงตรัสให้เรานึกถึงศีล นึกถึงโสตาปัตติยังคะ 4 ให้มีปีติ สุข อันเกิดจากศรัทธาที่หยั่งลงมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งจะช่วยให้ชนะอุปสรรคได้ เช่นกัน ทั้งนี้ ผู้ที่ ‘ตั้งตนไว้ชอบแล้ว’ จะยังผลให้เกิดแก่ตนเองทั้ง ชั้นต้น ชั้นกลาง และชั้นสูงสุด ได้แน่นอน อนึ่ง การมีวาสนามาก่อนนั้น ทำให้เราได้เกิดเป็นมนุษย์ การอยู่ในปฏิรูปเทศ คือ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีธรรมให้ฟัง และการตั้งตนชอบ เช่น การฟังธรรม แทนฟังเพลง นี่คือ เรามีมงคลข้อ 4-6 แล้วนั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
23 Mar 2021 | บารมี 10 ปฏิปทาอันประเสริฐ 6412-3d | 00:59:13 | |
ความดีที่บำเพ็ญไว้ หรือข้อปฏิบัติที่สามารถตรวจสอบดูด้วยจิตใจตนเอง ซึ่งเมื่อทำให้เต็มแล้วจะทำให้บรรลุถึงพระนิพพานได้ เรียกว่า "บารมี" มีทั้งหมด 10 ประการด้วยกัน และยังแบ่งเป็นขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูงสุดด้วย โดยในแต่ละข้อจะเกี่ยวเนื่อง สอดรับกัน ในแง่มุมของศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งจะมีมรรคแปดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บารมีเต็มได้ และมากเพียงพอที่จะทำให้บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลในขั้นต่าง ๆ ด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
06 Jul 2021 | ฤทธิ์ 6427-3d | 00:55:45 | |
จิตที่เป็นสมาธิบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี คือ “ฤทธิ์” ฤทธิ์ทั้งปวง จักมีขึ้นได้ด้วยความเพียรพยายาม ขวนขวายทั้งสิ้น ฤทธิ์ทั้งปวงล้วนเกิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา อันบริบูรณ์ เปรียบเหมือนช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใด ๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้น ๆ ให้สำเร็จได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
07 Mar 2019 | โต้ตอบคนพาลด้วยกำลังของบัณฑิต 6210-5d | 00:51:03 | |
พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะความโกรธด้วยความเมตตา เอาชนะคำไม่จริงด้วยคำจริง แล้วการที่จะเอาชนะสิ่งเหล่านั้นได้ สิ่งที่พระองค์ใช้มาตลอดก็คือ “ความอดทน”บนสวรรค์แม้แต่ท้าวสักกะก็ต้องอดทนเมื่อถูกท้าวเวปจิตด่าว่า ซึ่งยกตัวอย่างจาก “เวปจิตติสูตร”บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายคนพาล คนโง่ คนไม่มีกำลัง … คนเหล่านี้ไม่มีปัญญา ไม่มีกำลังแต่คิดว่า ตัวเองมีกำลังเลยแสดงพลังของตัวเองด้วยคำด่า คำว่า เพราะคิดว่านั่นคือกำลังของตน แต่เป็นกำลังของคนโง่การอดทนที่ถูกคือ การอดทนแบบมีหิริโอตตัปปะ … มีความเมตตา อดทนต่อกัน เราจะมีสวรรค์เป็นที่ไป มีนิพพานเป็นที่ไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
25 May 2021 | ธรรมของผู้อยู่ประจำวัด 6421-3d | 00:29:59 | |
ข้อปฏิบัติของการอาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบ สุภาพและเคารพนอบน้อม คือ ศีลและวัตร 14 เป็นต้น อันเป็นไปเพื่อธํารงความสงบเรียบร้อยในการอยู่ร่วมกัน ผู้ที่ดำรงตนใน ศีล และข้อปฏิบัติทั้ง 22 ข้อนี้ ย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
01 Jan 2019 | เรื่องเกี่ยวกับภิกษุณี 6201-3d | 00:57:46 | |
เกร็ดความรู้จากหนังสือ “เรื่องเกี่ยวกับภิกษุณี” บทประพันธ์โดยสมเด็จพระวันรัต (ท่านจุทน์ พฺรหฺมคุตฺโต)ว่าด้วยความเป็นมาของภิกษุณี, วิธีอุปสมบทภิกษุณี, คุณสมบัติของการอุปสมบทเป็นภิกษุณี, ศีลของภิกษุณี, ความเกี่ยวข้องระหว่างภิกษุกับภิกษุณี, เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงวางกฏเกณฑ์การอุปสมบทภิกษุณี, สถานภาพของภิกษุณี, การพ้นภาวะภิกษุณี, ภาษิตของพระเถรี, ภิกษุณีในประเทศไทย และสตรีที่บวชในพระพุทธศาสนาธรรมบทแปลเรื่อง “พระอุบลวรรณาเถรี” ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเป็นเลิศในด้านฤทธิ์ เปรียบเทียบไว้กับพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า และเป็นต้นบัญญัติศีล ที่ห้ามภิกษุณีอยู่ในป่า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
05 Jan 2021 | ทุกขอริยสัจ ที่ต้องกำหนดรู้ 6401-3d | 00:56:48 | |
ใต้ร่มโพธิบทในวันนี้เป็นตอนแรกของ "อริยสัจ องค์ความรู้แห่งปัญญา" เริ่มด้วย ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ ทุกข์ ต้องรอบรู้ และทุกข์ ต้องเข้าใจ นั้นคือ "ทุกขอริยสัจ ที่ต้องปริญญายะ" Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
09 Nov 2018 | อุตตริมนุสสธรรม 6145-6d | 00:29:55 | |
ความหมายโดยละเอียดของคำว่า “อุตตริมนุสสธรรม”“อุตตริมนุสสธรรม” ในแง่มุมของการ “อวด” “แสดง” และ “พัฒนา”ธรรม 6 ประการที่เป็นคู่เปรียบ ซึ่งทำให้ “อุตตริมนุสสธรรม” สามารถเกิดขึ้นและไม่เกิดขึ้นได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
05 Oct 2018 | เข้าใจและยอมรับทุกข์ เพื่อเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ | 00:29:08 | |
รายละเอียดของภัยในอนาคตทั้ง 5ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจ การยอมรับ และความยึดถือในทุกข์ทั้งหลายความหมายของ “ผู้ที่ผาสุกอยู่ได้” และการที่จะสามารถเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ต้องปฏิบัติตนอย่างไร เมื่อจิตติตรึกไปในเรื่องใด ๆ มาก จิตจะน้อมไปด้วยอาการอย่างนั้น ๆ จะทำให้สิ่งนั้นมีพลังและมีอำนาจเหนือจิต ดังนั้นการพัฒนาให้ ”เป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้” ในระดับที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปนั้น ต้องเริ่มจากมีสติ คิดไปในเรื่องดี ๆ เป็นไปในทางกุศลธรรม ระลึกถึงองค์ธรรมในอนุสสติสิบอย่าง ทำให้สติตั้งขึ้น สติมีกำลังมากขึ้น จนสติรักษาจิต เมื่อจิตมีกำลังมากขึ้น จะทำให้จิตรวมลง ระงับลง เพ่งดิ่งต่ออารมณ์อันเดียว ซึ่งจะทำให้ความผาสุกมากขึ้นด้วยตามลำดับ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
08 Sep 2020 | แง่ต่างแห่งปปัญจสัญญา 6337-3d | 00:56:07 | |
ใต้ร่มโพธิ์บทในวันนี้ เราจะได้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง "แง่ต่างแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า" คือ ปปัญจสัญญาสังขา ซึ่งเนื้อหาหลักมาจากคำถามของท่านท้าวสักกะเทวราชในเรื่อง สักกะปัญหะสูตร (ปฏิจจสมุปบาทแห่งการดับปปัญจสัญญาสังขา) เพื่อที่จะได้ทำให้แจ้งซึงวิธีดับปปัญจสัญญาสังขานี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
16 Jul 2019 | สฬายตนะ ช่องทางของการรับรู้ 6229-3d | 00:57:19 | |
เจาะลึกลงมาจากเรื่องของขันธ์ 5 สามารถอธิบายแจกแจงเห็นได้ชัดเจนลงมาอีกในเรื่องของ "สฬายตนะ" คือ อายตนะภายในและภายนอกทั้ง 6 โดยแยกรูป แยกสังขาร (การปรุงแต่ง) อธิบายในลักษณะที่เป็นช่องทางของการรับรู้ โดยได้อธิบายแต่ละอายตนะโดยรายละเอียด เวลาที่เราอธิบายอายตนะอันใดอันหนึ่ง ก็ต้องมีทั้งภายนอกและภายใน พอมีช่องทางที่มันกระทบถูกต้องแล้วก็จะเกิดการรับรู้เกิดขึ้นในช่องทางใจ (มโน) การรับรู้นั่นเรียกว่า “วิญญาณ”…อินทรีย์จึงมีใจเป็นที่แล่นไปสู่ “ใจ” ตรงนี้จึงเป็นที่รวบลงของสิ่งต่าง ๆ เริ่มเป็นนามธรรมเกิดขึ้น มีผัสสะเกิดขึ้นต่อกันและต่อกันไป มีการรับรู้ทางใจ (มโนวิญญาณ) เกิดเป็น “เวทนา” (ความรู้สึกเป็นทุกข์, เป็นสุข, อทุกขมสุข) แยกแยะช่องทางการรับรู้ได้ 18 อย่าง ซึ่งในแต่ละอย่าง ๆ ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้กับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ใน โกฏฐิกสูตร ว่า เหล่านี้เป็นของที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอยู่ แต่ไม่ใช่ของอย่างเดียวกัน…ความคิดที่เป็นวิตกวิจารในเรื่องต่าง ๆ ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์ คิดนึกปรุงแต่งนั่นนี่ กับ ใจ มันเป็นคนละอย่างกัน และยังเป็นคนละอย่างกันกับการรับรู้ด้วย สิ่งที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ไม่ได้ก็คือ การที่เราเห็นว่ามันเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของกันและกันอยู่ ก็เพราะความรักใคร่พอใจที่อาศัยอะไรเกิดขึ้น มันก็เกาะเกี่ยวกันเลยตรงนั้น ถ้าเรายังเห็นว่ามันแยกจากกันไม่ได้ ความคิดนี้ ไม่ถูกต้อง เป็นมิจฉาทิฏฐิ…แต่ถ้าตัดความรักใคร่พอใจออกไปได้ มันจะไม่ไปต่อ มันแยกจากกัน มันสืบเนื่องต่อกันไปไม่ได้ ความสิ้นทุกข์โดยชอบจึงปรากฎขึ้นได้ เพราะอาศัยเหตุปัจจัยคือการประพฤติการปฏิบัติที่สมควรแก่ธรรม “…เหมือนโคดำและโคขาวที่ถูกผูกอยู่ด้วยเชือกเส้นเดียวกัน แต่เป็นคนละตัวกัน ตัดเชือกแล้วตัวหนึ่งก็ไปทางหนึ่ง มันก็แยกกันไป…ใจ และ ธรรมารมณ์ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ความคิดนึกก็อย่างหนึ่ง ช่องทางก็อย่างหนึ่ง ผู้ที่เข้าไปรับรู้ คือ วิญญาณ นั่นก็อย่างหนึ่งแน่นอน มันเป็นคนละอย่างกัน แต่เหมือนดูเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยเราแยกแยะได้ไม่ชัดเจนเพราะความรักใคร่พอใจคือตัณหา ที่มีรากคืออวิชชามาปกปิดบังเอาไว้ เราจะคลี่แจงแจกให้เกิดความผ่องใสได้ เริ่มต้นจากการปฏิบัติสมาธิ ฟังใคร่ครวญธรรมเป็นอย่างดี ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างดีได้” แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท Ep.56 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
30 Nov 2021 | ทางสายกลางดับกรรมได้ [6448-3d] | 00:58:04 | |
พระพุทธเจ้าทรงค้นพบช่องทางรอด อันเป็นทางสายกลาง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ผู้ที่จะรอดช่องนี้ได้จะต้องอาศัย 'ศรัทธา' ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้กับท่านสหัมบดีพรหม ณ ใต้ต้นไทรอันเป็นที่พักร้อนของเด็กเลี้ยงแพะ… “ประตูสู่นิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้ว สัตว์เหล่าใดที่จะมาตามทางนี้ สัตว์เหล่านั้นจงปลงศรัทธาลงไปเถิด” หนทางอันประเสริฐนี้ยังมีอยู่ เป็นช่องทางที่ไม่ติดตัน ไม่วนไปในสังสารวัฏ ที่เมื่อผู้ไม่ประมาทปฏิบัติตามแล้ว ก็จะได้รับผลเหมือนกันหมด ทำให้คลายความยึดถือทั้งหมดได้ กรรมดับไปได้ ไปสู่ทางอันเกษม ถึงความดับเย็น คือ พระนิพพานได้แน่นอน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
15 Dec 2018 | ธรรมะรับอรุณ Live : กิเลสเครื่องเศร้าหมอง 6150-7d | 00:58:31 | |
กิเลส หมายถึง เครื่องเศร้าหมองหรือสิ่งที่ไม่ดีซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์ เช่น ตัณหา อวิชชา อาสวะ เป็นต้น จัดอยู่ในอริยสัจข้อที่สองคือ “สมุทัย” หรือ “เหตุเกิดแห่งทุกข์” ทำให้เราไม่เป็นตัวของตัวเอง แต่จะเป็นไปตามอำนาจของกิเลส สามารถแบ่งกิเลสออกเป็น 3 กองใหญ่ ๆ ได้ดังนี้โทสะ เป็นกิเลสกองที่ทำให้เราเกิดความโกรธ เร่าร้อน รุ่มร้อน ขัดเคืองใจ2. โลภะหรือราคะ เป็นกิเลสกองที่ทำให้เราเกิดความหิว ความอยากได้3. โมหะ เป็นกิเลสกองที่ทำให้เราเกิดความมืดบอด มีหมอกหรือควันบดบังทำให้มองเห็นได้ไม่ชัดเจน จนกลายเป็นความไม่รู้หรือเห็นผิดได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
05 Apr 2022 | นิวรณ์ 5 [6514-3d] | 00:58:04 | |
“นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิ การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร 4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์ 7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้ เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อให้จิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญา ได้อีกด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
26 May 2020 | ปะฏิสังขาโย การพิจารณาปัจจัย 4 6322-3d | 00:57:57 | |
"ตังขะณิกะปัจจะเวกขะณะวิธี" หรือ "ปะฏิสังขาโย" ว่าด้วย การพิจารณาปัจจัย 4 เป็นบทสวดที่ พระภิกษุสงฆ์รวมถึงนักปฏิบัติ จะต้องใคร่ครวญอยู่เป็นประจำ ด้วยการพิจารณาโดยแยบคายในเรื่องของปัจจัย 4 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ก่อนบริโภค อยู่ในส่วนทำวัตรเช้า หลังบริโภค อยู่ในส่วนทำวัตรเย็น ทั้งก่อนและหลังจะมีเนื้อหาเหมือนกัน ในที่นี้แนะนำให้เพิ่มการพิจารณาในระหว่างบริโภคนั้นด้วย จะเป็นการดีมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เราบริโภคปัจจัย 4 ด้วยความระมัดระวัง ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่จะพิจารณาโดยแยบคายอยู่บนทางสายกลางไปตามความเหมาะสม ตามกาละเทศะ ไม่ได้เป็นไปเพื่อการยึดถือ แต่เป็นไปเพื่อการอนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์ จึงต้องมีการพิจารณาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังบริโภค จะช่วยฝึกจิตของเราให้มีภูมิต้านทาน มีสติสัมปชัญญะ ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงไปในสิ่งเหล่านี้ ให้เราอยู่เหนือการควบคุมของสิ่งเหล่านี้ได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S07E51 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
30 Jun 2020 | ทางสายกลางดับกรรมได้ 6327-3d | 00:58:07 | |
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ที่ใต้ต้นไทรอันเป็นที่พักร้อนของเด็กเลี้ยงแพะ บอกกับสหัมบดีพรหมว่า "ประตูสู่นิพพานอันเป็นอมตะ เราเปิดไว้แล้ว คือ อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลาง สัตว์เหล่าใดที่จะมาตามทางนี้ สัตว์เหล่านั้นจงปลงศรัทธาลงไปเถิด" ทางนี้ เป็นช่องทางที่จะให้รอดไม่ติดตัน ที่ใครก็ตามเมื่อปฏิบัติแล้ว ถ้าทำถูก จะได้ผลเหมือนกันแน่นอน เป็นทางที่จะพาไปสู่ความประเสริฐชนิดที่เมื่อไปถึงแล้ว ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า เป็นข้อปฏิบัติที่เมื่อทำให้มาก เจริญให้มากแล้ว เราจะไม่ได้ยึดถือในสิ่งนั้น ทำให้คลายความยึดถือทั้งหมดได้ นี้เป็น ลักษณะของความดับความเย็น คือ นิพพาน แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E23 , ใต้ร่มโพธิบท S08E20 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
06 Apr 2021 | ความรู้ยิ่งอันยอดเยี่ยมซึ่งหาที่เปรียบมิได้ | 00:56:13 | |
ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของที่เชิญคนเข้ามาพิสูจน์ สามารถรู้เห็นได้เฉพาะตน เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตน เมื่อทำแล้วปฏิบัติแล้ว ทำให้เกิดความดีขึ้น รู้สึกได้ถึงความพอ รู้สึกได้ถึงความอิ่ม และรู้สึกได้ถึงความเต็ม จึงถือว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นแบบฉบับได้เป็นอย่างดี ซึ่งประกอบไปด้วยความรู้ยิ่งที่ยอดเยี่ยม สูงสุด ไม่มีอีก ไม่มีเหลือ และไม่มีอะไรเกินไปจากนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
31 Aug 2021 | อสัตบุรุษ | 00:56:33 | |
อสัตบุรุษยกตนข่มท่าน เพราะสกุล เพราะยศ เพื่อแลกกับลาภเล็กน้อย แม้ถูกใครถามถึงความไม่ดีของตนก็ปกปิดไม่เปิดเผยให้ปรากฏ เมื่อถูกใครถามถึงความไม่ดีของตน ก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไขว้เขวแล้วกล่าวความไม่ดีของตนอย่างไม่เต็มที่ นี่คือ หนึ่งในวิสัยแห่ง “อสัตบุรุษ” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
17 Nov 2020 | กามาทีนวกถา โทษของกาม 6347-3d | 00:59:53 | |
“กาม” คือ ความกำหนัดยินดีพอใจที่เกิดขึ้นอยู่ในจิตใจของเรา วัตถุภายนอกที่วิจิตรพิสดารเลิศหรูดูดี นั่นไม่ใช่กาม นั่นเรียกว่ากามวัตถุ แต่ความเพลิดความพอใจความยินดีในกามวัตถุนั้นเรียกว่ากาม เราจะเห็นคุณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องเห็นโทษของมันด้วย เห็นทั้งข้อดีข้อเสีย แบบนี้จึงจะมีความรอบคอบมีความรัดกุม มีไหวพริบ มีปฏิภาณ มีปัญญา มีโยนิโสมนสิการ อะไรที่จะดีโดยส่วนเดียวไม่มี จะรู้ว่า “โทษของกาม” หนึ่งในอนุปุพพิกถา คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าแสดงไปตามลำดับเป็นอย่างไร มีโทษอย่างไร กามที่มันยึดโยงเราทุกทางเป็นอย่างไร ติดตามฟังได้ในเอพิโสดนี้ “..กามเปรียบกับเขียงสับเนื้อ เปรียบกับท่อนกระดูก เปรียบชิ้นเนื้อที่นกคาบไป เปรียบกับคบเพลิงหญ้า เปรียบกับหลุมถ่านเพลิง เปรียบด้วยของในความฝัน เปรียบเหมือนของยืมเขามา เปรียบกับผลไม้บนต้น เปรียบกับรูรั่วของเรือ เปรียบด้วยคลื่น..” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
05 Nov 2019 | ความจริงในขันธ์ 5 คือ ไม่เที่ยง อนัตตา 6245-3d | 01:01:30 | |
เป็นเนื้อหาที่ต่อจากเอพิโสดที่แล้วในเรื่องของขันธ์ 5 ซึ่งประเด็นที่เชื่อมต่อกันมาก็คือ ขันธ์ 5 ที่เราเข้าใจแล้วว่า ต้องทำความกำหนดรู้ ทำความเข้าใจ ยกตัวอย่างการเรียนภาษา เราก็ไม่รู้ในภาษานั้น ๆ เราก็ฝึกเรียน ตอนแรกมันไม่รู้ สัญญามันจึงต้องเรียนรู้เอา การเรียนรู้ก็คือ สัญญาแบบหนึ่งปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงให้สำเร็จรูปไปเป็นสัญญาอีกแบบหนึ่งขึ้นมา การปรุงแต่งนั้นคือ สังขาร ดังนั้นสังขารก็คือการเรียนรู้ นั่นแหละ การฝึกทักษะความรู้ การท่องจำศัพท์ต่าง ๆ เกิดเป็นสัญญาใหม่ ซึ่งเมื่อทำให้มีสังขารมีสัญญา ๆ ขึ้นมา ทำให้เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเอาสมาธิเชื่อมเข้าไป สัญญาสังขารนั้นมันจะเป็นจะเกิดเป็นญาณ เป็นความรู้เกิดขึ้นมา เราจะสามารถโต้ตอบภาษานั้น ๆ ได้โดยอัตโนมัติ ญาณจึงเกิดขึ้นได้ในทุกระดับ รวมถึงทักษะศิลปวิชาชีพต่าง ๆ จะสามารถแทงตลอดในเรื่องนั้น ๆ ได้ฉับพลันทันที เปรียบไว้เหมือนกับนักเลงรถ ชี้ไปตรงไหนมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไรเขาจะรู้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถทั้งหมด โดยไม่ต้องเตรียมการไว้ก่อน เพราะนั่นคือญาณของเขา ที่เกิดจากฝึกทำ พูด คิด อยู่เป็นประจำ สัญญาจึงเกิดก่อน ญาณจึงเกิดตามมา ในที่นี้เราศึกษาเรื่องของขันธ์ 5 ก็เพื่อจะให้เกิดญาณในขันธ์ ทั้ง 5 เป็นความรู้อย่างนี้ว่า มันเป็นของไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา มีความแปรปรวนไปเป็นอย่างอื่น เป็นธรรมดา เป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารอะไรไม่ได้ เห็นสัจจะความจริงอย่างนี้ ซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ บ่อย ๆ มีสังขารการปรุงแต่งเข้าไป (มรรค 8) จะเกิดความรู้ที่เป็นญาณอย่างนี้ ซึ่งเราต้องทำให้มันได้ พอเมื่อถึงเวลาจริงมันจะทำให้พ้นทุกข์ได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlist : เข้าใจทำ (ธรรม) S07E55 , ใต้ร่มโพธิบท S08E03 , ทำสัญญาให้เป็นญาณ , ไม่ยึดถือแต่ใช้เป็นที่พึ่ง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
08 Feb 2022 | อนุปุพพิกถา เรื่องของสวรรค์ [6506-3d] | 00:55:22 | |
สัคคกถา ธรรมข้อที่สามในห้าข้อของอนุปุพพิกถา เป็นเรื่องของสวรรค์ ที่หากมนุษย์ตายแล้วได้ขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ จะมีความสุขมากเพียงไร ด้วยการเปรียบเทียบความสุขของมนุษย์ที่แม้เป็นถึงพระเจ้าจักรพรรดิ กับความสุขของเทวดาบนสวรรค์ก็เหมือนแค่หินก้อนเท่าฝ่ามือกับภูเขาหิมาลัย การเป็นเทวดาทำได้ไม่ยาก ด้วยการสร้างเหตุปัจจัยไว้ตั้งแต่อยู่บนมนุษย์โลกนี้ ทั้งทางกายโดยการให้ทาน การรักษาศีล มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน และทางจิตใจโดยการเจริญเทวตานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณธรรมของเทวดาอันประกอบไปด้วย ศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา เช่น การมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าของมัฏฐกุณฑลีบุตรก่อนตาย การมีศีล การได้ฟังธรรม การให้ทาน และการมีปัญญาเห็นการเกิดขึ้นการดับไป คุณธรรม 5 ข้อนี้จะเป็นเหตุให้ได้เป็นเทวดาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
07 Apr 2020 | วัคซีนคือมรรค 8 6315-3d | 00:57:33 | |
“วัคซีน” ที่จะมาเป็นยาป้องกันหรือยารักษาก็ตาม ที่ใส่เป็นยารักษาเมื่อคุณติดเชื้อแล้วหรือฉีดวัคซีนก่อนเพื่อช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) ให้ร่างกาย ยาพวกนี้จึงมีลักษณะพฤติกรรมการทำงานเหมือน มรรค 8 เป็นทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง “มรรค 8” เป็นยาที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้จิต ป้องกันจิตไม่ให้เศร้าหมองจากกิเลส ตัณหา อวิชชา สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีด้วยสติ สมาธิ ด้วยความดีที่ได้กระทำสักอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในตัวของเรา ซึ่งจิตใจของทุกคนนั้นมีความดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสัตว์นรกมาจนถึงพรหม จิตก็มีธรรมชาติเป็นความประภัสสรอยู่แล้ว แต่มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่เป็นอาคันตุกะจรมา ทำให้มันเศร้าหมองไป จะทำอย่างไรให้เกิดความผ่องใสดีงามขึ้นมาได้ ก็ต้องรู้จักเอามรรค 8 ที่ผ่านการศึกษาทดลองและวิจัยโดยพระพุทธเจ้า ให้มาเป็นวัคซีน มาเป็นยารักษา ที่จะต้องใช้ให้ถูกจึงจะได้ผล ดังนั้นธรรมะที่เราอ่านเราทำ ไม่ใช่แค่จำได้เท่านั้น แต่ต้องรู้จักทำให้ธรรมคำสอนนั้นเข้าสู่จิตใจ เราจึงต้องตั้ง “สติ” เอาไว้ให้ดีอยู่ทุกเมื่อ จะรักษาคุ้มกันจิตใจของเราได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E22 , ใต้ร่มโพธิบท S08E25 , #มรรคแปด ยาดีที่อยู่ในใจ , #มรรค 8 ทำให้จิตเข้าถึงธรรมะ โดยพระครูสิทธิปภากร Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
05 Jul 2022 | ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้า [6527-3d] | 00:59:12 | |
‘สวากขาตธรรม’ เป็นพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ มีลักษณะ 3 ประการคือ 1. เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง 2. ประกอบด้วยเหตุผลพร้อม และ 3. ทำให้เกิดความน่าอัศจรรย์ โดยแบ่งเป็น พระธรรมและพระวินัย เป็นการแสดง เทศนาและสัจจะ ที่มีทั้ง สมมติและปรมัตถ์ ควบคู่กัน โดยอาจยกบุคคลหรือสภาวะธรรมขึ้นอธิบาย พร้อมอัตถะ คือ ความหมายตรงหรือที่ซ่อนอยู่ ทั้งนี้ คำสอนมีทั้งปริยัติและปฎิบัติ สอดคล้องตามกิจในพระศาสนา คือ คันถธุระและวิปัสสนาธุระ นั่นเอง โดยคำสอนทั้งหมดรวมเรียกว่า นวังคสัตถุสาสน์ มี 9 ประเภทด้วยกัน ซึ่งสามารถกล่าวโดยสรุปแก่เหล่าพุทธบริษัท เป็นพุทธโอวาท 3 คือ “ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำแต่ความดี และทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์” นอกจากนี้ ท่านพระพุทธเจ้ายังทรงบัญญัติ ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 7 และ 8 ประการไว้ด้วย ที่เหมือนกัน คือ เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด เป็นต้น ทั้งนี้ ก็เพื่อป้องกันอาสวะ โทษภัย และอกุศลที่จะเกิดในปัจจุบันหรืออนาคต และเพื่อความผาสุก ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ฯลฯ นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
13 Jul 2021 | สติปัฏฐาน 4 6428-3d | 00:58:47 | |
ความระลึกรู้ ความตระหนักรู้ นั้นคือ สติ อันเป็นประธานในการกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง การเจริญสติให้มั่นคงเป็นหนทางสายเอกอันเป็นไปเพื่อการดับทุกข์ เพื่อความบริสุทธิ์ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำบุคคลผู้เจริญให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ “สติปัฏฐาน 4” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
14 Dec 2018 | ปฏิปทา 6150-6d | 00:51:57 | |
"ปฏิปทา" แปลว่า ทางดำเนิน ข้อปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติ ความประพฤติ ในทางธรรมเพื่อบรรลุคุณวิเศษ คือ มรรคผล นิพพาน มักปรากฏต่อท้ายคำอื่นๆ เช่น มัชฌิมาปฏิปทา ทุกขนิโรธปฏิปทา เป็นต้น ส่วนปฏิปทาในทางโลกมักถูกนำมาใช้ในความหมายว่าความประพฤติ และใช้กับความประพฤติที่ดีงาม ไม่ใช้กับความประพฤติที่ไม่ดี เช่นว่า "เขาเป็นคนมีปฏิปทาอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว" หมายความว่าเขาเป็นคนมีความประพฤติที่ดี เช่น ชอบช่วยเหลือคนอื่น มีอัธยาศัยดี หรือมีอุปนิสัยใจคอตามที่แสดงออกมาเช่นนั้น ปฏิปทาแบ่งออกเป็น 4 ประการดังนี้ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า กว่าจะบรรลุธรรมพิเศษก็ใช้เวลานาน เช่น พระจักขุบาล เลือกทำวิธีบำเพ็ญเพียรโดยไม่นอนตลอด 3 เดือนจนตาบอด จึงบรรลุอรหัตตผล ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เช่น พระโสณโกฬิวิสะ เดินจงกรมจนฝ่าเท้าแตก, พระปูติคัตตะบำเพ็ญเพียรในขณะอาพาธได้รับความลำบากโดยเอาทุกขเวทนามาพิจารณาจนบรรลุพร้อมทั้งนิพพานไปด้วย เรียกว่า “ชีวิตสมสีสี” ดับจิตสังขารพร้อมกิเลส สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า เช่น พระจูฬปันถกถูกพระพี่ชายให้ปฏิบัติวิธีที่ไม่ถูกจริตจึงไม่บรรลุ ตราบได้รับคำแนะนำจากพระพุทธเจ้าให้บำเพ็ญเพียรโดยลูบคลำผ้าขาวไปเรื่อยๆก็บรรลุได้ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว เช่น พระพาหิยทารุจีริยะ ปฏิบัติตามพระธรรมเทศนาที่พุทธองค์ตรัสก็บรรลุที่ตรงนั้นเลย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
06 Oct 2020 | ตรรกะวิบัติ 6341-3d | 00:57:57 | |
"ที่นี่คนมาเยอะ ต้องศักดิ์สิทธ์แน่ ๆ" "ฉันไปทำบุญ (ไหว้พระ) ที่นี่มา เลยกลับมา ถูกหวย ขายของดี เป็นเทนำ้ เทท่าเลย" "คนนี้จำพระสูตรได้มาก ต้องบรรลุธรรมแน่ ๆ เลย" "พระองค์นี้เป็นพระเถระแล้ว ต้องบรรุลุธรรมขั้นสูงแน่ ๆ เลย" "พระองค์นี้ยังหนุ่มอยู่เลย คงยังไม่บรรลุธรรมอะไร" การให้เหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้เป็นข้อสรุปที่ถูกต้องหรือบกพร่องกันแน่ แล้วที่ว่าถูกต้องจริง ๆ จะเป็นไปในลักษณะไหน เรามาค้นหากันในใต้ร่มโพธิ์ตอนนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
08 Nov 2022 | มงคลชีวิต 18 #การสงเคราะห์ญาติ [6545-3d] | 01:05:26 | |
“ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง” ให้มองทุกคนเหมือนเป็นญาติของเรา “มองกันด้วยสายตาแห่งคนที่มีความรักใคร่กัน” เพราะทุกคนเป็นญาติกันแน่ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ทางโลกก็ทางธรรม ไม่สายโลหิตก็ตามความคุ้นเคย ดังนั้น ‘สังคหวัตถุ 4’ คือ สิ่งที่สามารถสงเคราะห์กัน ช่วยเหลือดูแลกัน จะมีอยู่ 4 ประการ คือ (1) สมานัตตตา การวางตัวให้เหมาะสม (2) ทาน การให้การแบ่งปัน (3) ปิยวาจา การไม่กล่าวคำให้แตกแยก การรักษาวาจา กล่าวคำที่จะให้เขาสบายใจ และ (4) อัตถจริยา การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ ช่วยเหลือกันในความเป็นญาติ รวมทั้งช่วยบริหารจัดการครอบครัวญาติมิตรให้มั่งคั่ง เจริญพรั่งพร้อมกันขึ้นมา ซึ่งเมื่อเราทำกับเพื่อนกับญาติอย่างนี้ ความเป็นมงคลจะเกิดขึ้นแน่นอน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
23 Feb 2021 | พละ หลักธรรมปรับสมดุลจิต 6408-3d | 00:57:57 | |
พละ มรรคาแห่งธรรม ธรรมอันเป็นกำลังในการปฏิบัติเพื่อประหารอกุศล พลังอันเป็นหลักมั่นคงในจิตแห่งการเจริญปัญญา เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
18 May 2021 | ข้อสอบของอริยบุคคล 6420-3d | 01:01:35 | |
บุคคลผู้ดำเนินตามทางแห่งมรรค 8 จนสามารถมองเห็นฝั่งแห่งนิพพานอยู่เบื้องหน้า มีจุดหมายแห่งการบรรลุอย่างแน่แท้ เรียกว่า อริยบุคคล ผู้บรรลุธรรมวิเศษ แบ่งตามประเภทบุคคลมี 4 ประเภท คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ อริยบุคคลผู้ไกลจากข้าศึก ย่อมเห็นว่าสังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เมื่อทราบเนื้อความนี้ตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน เพราะนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
20 Oct 2020 | ความสันโดษ 6343-3d | 00:58:28 | |
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนความเป็นผู้สันโดษ" - อํ. เอก-ทุ-ติ ๒๐/๑๒/๖๖. หัวข้อแม่บทในวันนี้เป็นเรื่องของ "ความสันโดษ" ซึ่งเป็นธรรมะที่อยู่ในหัวข้อปฏิบัติ ที่เป็นทางกาย ทางวาจา ไม่ใช่ศีลแต่ว่าเหนือกว่าศีลขึ้นมานิดนึง เราจะมาเจาะจงลึกลงไปในหัวข้อและความหมายโดยละเอียด เพื่อให้เกิดความเข้าใจ จนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้ได้มากขึ้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
14 May 2019 | มหาบุรษ 32, มหาสุบิน 5, ถูปารหบุคคล 4 6220-3d | 00:55:21 | |
เนื่องในช่วงสัปดาห์ของวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นการน้อมมาระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงยกเรื่องของพระองค์ขึ้นมาพูดคุยกันในเรื่องการประสูติ: ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ, ก่อนการตรัสรู้: มหาสุบิน 5 อย่าง และก่อนการปรินิพพาน: ถูปารหบุคคล 4 จำพวกลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ เกิดจากสร้างเหตุเช่นนั้นๆ จึงได้ผลเช่นนี้ ๆการตีความความฝันของพระพุทธเจ้าก่อนการตรัสรู้บุคคล 4 จำพวกที่ควรแก่การสร้างสถูปเจดีย์เพื่อเป็นที่ระลึกถึง ให้เกิดความเสื่อมใสศรัทธา หัวข้อที่ยกมาพูดคุย ไม่ใช่เป็นไปในเรื่องของความงมงาย แต่ให้เข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลที่ถูกต้อง เข้าใจเรื่องของกรรม ตั้งมั่นอยู่ในความดีความงาม ชีวิตที่มีศึกษาธรรมะนั้นจะเป็นประโยชน์มาก Time Index [0:43] เริ่มต้นการปฏิบัติด้วยการตั้งสติขึ้น ทำจิตใจของเราให้น้อมมาระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มีการเจริญพุทธานุสสติอยู่ [14:10] พุทธภาษิต เรื่อง “ทรงเป็นพระธรรมราชา” (พาเวรุชาดก (๖๕๖)) [17:25] ใต้ร่มโพธิบท ในเรื่องลักษณะมหาบุรุษ 32, มหาสุบิน 5 และถูปารหบุคคล 4 [20:14] มหาบุรุษ 32 ประการ [47:02] มหาสุบิน 5 [50:20] ถูปารหบุคคล 4 จำพวก [53:16] สรุป อย่าไปเชื่อเรื่องงมงาย แต่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องในความเป็นเหตุเป็นผล เข้าใจเรื่องของกรรม จึงมั่นสร้างความดีงามให้เกิดขึ้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
29 Jan 2019 | เชิญชวนปฏิบัติธรรมที่วัดป่าดอนหายโศก 6205-3d | 00:55:19 | |
วัดป่าดอนหายโศก เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งที่ 5 ของจังหวัดอุดรธานี จัดให้มีการปฏิบัติธรรมทุกเดือน โดยใช้เวลา 7 วัน รวมวันเดินทางไปกลับเป็น 9 วัน สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ donhaisok.coคำสอนในธรรมวินัยนี้ มีระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติเป็นไปตามลำดับของอริยมรรคมีองค์แปด มีความลึกล้ำแยบคายลงไปเป็นขั้นๆ เหมือนกับไหล่ทะเลที่จะลาดเอียงลงไปๆ ไล่มาจากศรัทธา ศีล การเสพเสนาสนะอันสงัด โดยอาศัยการอยู่หลีกเร้น โดยอาศัยการอยู่วิเวก การฝึกตั้งสติ เมื่อสติมีกำลัง จิตมีอารมณ์อันเดียว มีสมาธิ แล้วจึงจะสามารถใคร่ครวญในใจ มีการพิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งคำสอนของผู้รู้ทั้งหลายได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของอริยสัจสี่ขอเชิญชวนให้ท่านผู้ฟังลองมาปฏิบัติธรรมดู ข้าพเจ้านั่นแหละจะเป็นคนสอนให้ สอนกันแบบนี้มันไม่เห็นหน้า มันไม่เห็นตัว มาที่วัดปฏิบัติธรรม เห็นกัน ปฏิบัติกันจริง ๆ เราจะสามารถทำมรรคผลนิพพานให้แจ้งได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
29 Mar 2022 | วิธีละกิเลส [6513-3d] | 00:59:32 | |
“กิเลส” เป็นเหตุแห่งทุกข์ ต้องละเสีย จึงอ้างอิงในส่วนของอังคุตตรนิกาย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ในหมวด 6 ว่าด้วย วิธีการละกิเลส อาศัยธรรมหมวด 5 เป็นเหตุทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้ กล่าวคือ การฟังธรรม การเทศน์สอน การทบทวน การคิดใคร่ครวญในธรรม หรือการทำสมาธิ ธรรม 5 อย่างนี้ เมื่อปฏิบัติให้บ่อยแม้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเกิดความรู้ในอรรถธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความปราโมทย์ ปีติ ทำให้กายระงับ และจิตเป็นสุข มีสติ และสมาธิตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียว ซึ่งจิตที่มีสติตั้งมั่นนี้เองเป็นเหตุปัจจัยแก่ธรรมหมวด 6 ว่าด้วยการละกิเลส คือ การสำรวม การพิจารณาก่อนเสพสิ่งต่างๆ การงดเว้นสิ่งควรงด การอดทน การละเรื่องกามพยาบาทเบียดเบียน รวมถึงการภาวนาเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ด้วย จะเห็นว่า ธรรม 2 หมวดนี้ สอดคล้องรับกัน เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ หรือมรรค 8 นั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
07 Dec 2021 | ศรัทธาแก้ทุกข์ [6449-3d] | 01:00:14 | |
‘ทุกข์’ เป็นธรรมที่เข้าไปตั้งอาศัยของ ‘ศรัทธา’ โดย ‘ศรัทธา’ นี้ หมายถึง ความเชื่อ ความมั่นใจ ความลงใจ ความเลื่อมใส อันประกอบไปด้วยปัญญาและความเพียร ถ้าไม่มีปัญญามาหนุน ก็จะกลายเป็นความงมงาย ศรัทธาแล้วลงมือทำจริง แน่วแน่จริง มันก็จะมีจุดเชื่อม ตรงจุดเชื่อมนั้นคือ ‘กำลังใจ’ เราสามารถตั้ง ‘ศรัทธา’ ไว้ในทุกอย่างที่เราทำ ถ้าเราเชื่อว่า ‘เราทำได้’ กำลังจิตของเราก็จะไปทางนั้น ‘ศรัทธา’ จะต้องประกอบกัน 3 อย่าง คือ มั่นใจในผู้ที่ทำสำเร็จมาแล้ว (พุทโธ), มั่นใจในกระบวนการวิธี (ธัมโม), และมั่นใจว่าตัวเราต้องทำสำเร็จได้ (สังโฆ) ‘ศรัทธา’ มีโทษด้วย ถ้าเราวางไว้ผิด เปรียบเหมือนติดกระดุมเม็ดแรก ถ้าติดผิดมันก็จะผิดตามไปหมด เราจึงควรตั้งไว้ในคุณธรรม จะสามารถเป็นตัวจุดประกายให้ผู้อื่นได้ด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
20 Aug 2019 | รักษาตนเอง รักษาผู้อื่นด้วยการเจริญสติปัฏฐาน 4 | 00:55:18 | |
"เธอพึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาตน พึงปฏิบัติสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน"…เสทกสูตรที่ ๑ บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น เป็นอย่างไร? รักษาผู้อื่นด้วยการซ่องเสพ ด้วยการเจริญ ด้วยการกระทำให้มาก บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน เป็นอย่างไร? รักษาตนด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วยความมีจิตประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเอ็นดู คนที่ปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่ว่า ชีวิตจะราบรื่นไม่มีอุปสรรคอะไรเลย ผัสสะที่ไม่น่าพอใจ มันก็มีเป็นธรรมดา แต่พอมีแล้วเราจะรักษาสติของเราได้หรือไม่ ถ้าเรารักษาสติไม่ได้ มันจะเหมือนถูกยิงด้วยลูกศร 2 ดอก ถูกกายด้วย ถูกใจด้วย แต่ถ้ารักษาสติอยู่ได้ ก็เหมือนถูกยิงด้วยลูกศรดอกเดียว คือทางกาย ไม่ถูกยิงในทางใจ การที่เรารักษาตนเอง จะมีผลเป็นการรักษาผู้อื่น หรือ จะเอาผู้อื่นเป็นหลัก ก็จะมีผลเป็นการรักษาตนเองด้วย ไม่ใช่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น แต่ยังทั้ง 2 ฝ่ายให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ด้าน เปรียบเหมือนนักแสดงกายกรรม ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของเราแล้ว จะสามารถรักษาทั้ง 2 ฝ่ายได้ จะต้องเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ตามใจท่าน Ep.37 , Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
02 Nov 2018 | ผู้ยินดีในธรรมะ เพื่อความสุขในปัจจุบันขณะ | 00:30:59 | |
หลักธรรมะทั้ง 6 เมื่อเป็นผู้ยินดีแล้วจะทำให้อยู่อย่างมีความสุขกับปัจจุบันขณะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
27 Apr 2021 | วัดความก้าวหน้าทางธรรม 6417-3d | 00:57:41 | |
พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกกามโภคีบุคคลออกเป็น 10 ประเภท คือ หาทรัพย์มาได้โดยชอบบ้าง โดยทางมิชอบบ้าง แจกจ่ายบ้าง ไม่แจกจ่ายบ้าง ทำบุญบ้าง ไม่ทำบุญบ้าง มัวเมาในทรัพย์นั้นบ้าง ไม่มัวเมาบ้าง ฯลฯ ทรงแสดงหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณาตัดสินคุณสมบัติของกามโภคีบุคคล ว่า กามโภคีบุคคลเช่นไรควรติเตียน กามโภคีบุคคลเช่นไรควรสรรเสริญ ดังผู้มีปัญญาบริโภคโภคะเหล่านั้น โดยรู้เท่าทันเห็นโทษ ทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น เป็นนายเหนือโภคทรัพย์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
05 May 2020 | สัมมาวายามะ 6319-3d | 01:00:36 | |
ในเอพิโสดนี้ เป็นซีรีส์หัวข้อแม่บทที่จะอธิบายในเรื่องของ “อริยมรรคมีองค์ 8” ที่ต่อมาจากส่วนของศีล ซึ่งในส่วนนี้เป็นการกระทำความเพียรทางจิต โดยมี สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สังเคราะห์รวมกันเป็นส่วนของสมาธิ จึงเริ่มกันที่มาทำความเข้าใจในหัวข้อของ “สัมมาวายามะ” “…ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น” จากพุทธพจน์นี้ มีส่วนที่เหมือนกับในความหมายของ “สัมมาวายามะ” ที่มีสาระสำคัญอยู่ที่การทำให้กุศลธรรมที่มีอยู่แล้วให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น กุศลธรรมที่ยังไม่มีก็ทำให้มีให้เกิดขึ้นใหม่ การทำให้อกุศลธรรมที่มีอยู่แล้วลดลงไป อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ก็ไม่ทำให้เกิดขึ้น โดยมีลักษณะการริเริ่มที่มี “ฉันทะ” คือ ความพอใจ เป็นเหตุที่จะพัฒนาปรับปรุงด้วยความเพียรพยายามในทางที่จะทำให้กุศลธรรมเพิ่มขึ้น อกุศลธรรมลดลง แต่ทั้งนี้ต้องประคับประคองไม่ให้ความเพียรนั้นมีมากหรือน้อยเกินไป โดยอาศัยสติ สมาธิ และศรัทธา ที่ต้องคอยปรับให้เสมอ ๆ กัน และสิ่งที่ต้องมีให้มาก ๆ คือ กำลังใจ การทำจริงแน่วแน่จริง การมีความมั่นใจ กล้าที่จะตัดสินใจทำ การทำความเพียร จึงเป็นการทำให้กิเลสลดลง พอกิเลสมันจะตาย บางทีมันก็ไม่ยอม มันดีดกลับขึ้นมา เราต้องรู้จักที่จะผ่อนจะตึง ปรับให้มันได้ จึงมีคำว่า “ประคองจิต ตั้งจิตไว้” ให้ตรวจสอบสังเกตสภาวะในจิตใจของเราอยู่เสมอ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเป็นตัวอย่างของการปรารภความเพียรอยู่ตลอด ให้เราตั้งความเพียรไว้ในวันนี้และเดี๋ยวนี้ว่า “จะไม่ถอยหลัง ไม่เลิก จนกว่าจะสำเร็จ” แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต S02E30 , ตามใจท่าน S10E30 , S10E28 , คลังพระสูตร S08E64 , #ความเพียรสี่สถาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
19 Jan 2021 | ทุกขนิโรธอริยสัจ ที่ต้องทำให้แจ้ง 6403-3d | 00:54:33 | |
สิ่งใดมีเงื่อนไขปัจจัย เกิดขึ้น มีอยู่ ดำรงอยู่ ความดับของเงื่อนไขปัจจัยนั้น ย่อมต้องมี ทุกข์จะดับได้เพราะเหตุแห่งทุกข์นั้นดับลง ความจางคลาย ความหลุดออกไปแห่งตัณหา คือ ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ นั้นคือ ทุกขนิโรธอริยสัจ เข้าใจความดับไม่เหลือของทุกข์อย่างแจ่มแจ้งได้ในใต้ร่มโพธิบทตอนนี้ ซึ่งเป็นตอนที่ 3/4 ของเรื่อง “อริยสัจ” Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
03 Sep 2019 | ธรรมะ 4 อย่างที่ควรตั้งไว้ในใจ 6236-3d | 00:56:32 | |
"…คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะ (ความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นความสงบอันประเสริฐอย่างยิ่ง) เป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว . . .ธาตุวิภังคสูตร" พระพุทธเจ้าแสดงธรรมไว้กับพระเจ้าปุกกสาติในหัวข้อ "ธรรมะที่ควรตั้งไว้ในใจ 4 ข้อ" ได้แก่ปัญญา อธิบายถึงความไม่ประมาทปัญญาในธาตุทั้ง 6 อย่าง รู้ชัดใน ธาตุทั้ง 6 อย่างนี้ว่า "นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา"สัจจะ คือความจริงอันประเสริฐ คือเรื่องของนิพพาน จึงเป็นสิ่งที่ต้องตามรักษา ทำให้แจ้งทำให้ถึงขึ้นมา รักษาได้โดยไม่ประมาทปัญญา จาคะ ทิ้งความยึดถือคือสละกิเลสออกแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มพูนทำให้มาก เราสละกิเลสออกได้มากเท่าไหร่ นั่นคือปัญญาของเราที่มี เราจะเข้าถึงสัจจะได้มากขึ้นเท่านั้น อุปสมะ คือ จิตที่จาคะราคะ โทสะ โมหะหมดเลย นั่นคือความสงบราบคาบจากราคะ โทสะ โมหะ เป็นสุดยอดสันติ ที่กล่าวว่า สันติเป็นธรรมที่พึงศึกษา สันติก็คืออุปสมะ นั่นเอง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สวยงามดีมาก ๆ เพราะว่าพอแจกแจงออกมาแล้วปรากฏว่า มันเป็นเรื่องอย่างเดียวกัน ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ เป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ และพึงศึกษาสันติ อธิบายไปอธิบายมา มันมาจบลงรวมที่จุดเดียวกัน นั่นคือ สันติคือความที่ไม่มีกิเลส, จาคะคือการที่กำจัดกิเลสออก, สัจจะคือนิพพาน และปัญญาคือการเข้าใจตามความเป็นจริง ทั้งหมดเพื่อให้ถึงนิพพานเหมือนกัน เป็นเรื่องราวที่เมื่อฟังแล้วต้องระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าว่า ท่านนั้นมีปัญญามากมายเหลือเกิน พอคนที่ฟังเรื่องนี้แจกแจงเรื่องนี้แล้ว จะอยู่ไม่ได้แล้ว กิเลสมันต้องตาย และถ้ามีความเข้าใจถึงระดับนี้แน่นอนว่าไม่ทำให้พระพุทธเจ้าทรงลำบากด้วยเหตุแห่งธรรม แต่เป็นผู้ที่มีความเข้าใจที่ถูกต้องมาในทางที่ถูกต้องแล้ว สามารถที่จะตั้งธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ ไว้ในใจได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการแน่นอน แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: คลังพระสูตร Ep.58 , เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.61 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
29 Oct 2019 | ความหมายและการทำงานของขันธ์ 5 6244-3d | 00:57:58 | |
ในช่องทางใจของเรา เวลามีอะไรมากระทบ ถ้ามีสติรักษาไว้ ไม่ให้เกิดความระคายเคืองขึ้นที่จิต มันก็จะไม่ปรุงแต่งอะไรไปในทางอกุศล หรือถ้าเป็นไปในทางความชอบ กระเป๋าใบนี้ รองเท้าคู่นี้ ชอบมากเลย อันนี้เป็นสัญญา เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าชอบแล้วไม่มีสติ จิตมันก็จะเผลอเพลิน ลุ่มหลง ปรุงแต่งไป ควักเงินซื้อเลย กระเป๋าใบละสามสี่แสน ใครว่าแพง คนอื่นเขาหิ้วใบละล้าน ไม่แพงหรอก คิดนึกปรุงแต่งไป การคิดนึกปรุงแต่งเป็นมโนสังขาร การหยิบเงินยื่นออกไปเป็นกายสังขาร จิตนี้ก็ไม่ได้รับการรักษา (จิตนี้อยู่ในช่องทางคือใจ, ขันธ์ 5 ไม่ใช่จิต) จิตไปยึดถือขันธ์ 5 โดยความเป็นตัวตน เข้าไปยึดถือเวทนา ดีมาก ชอบมาก เป็นของฉัน มีในฉัน ฉันเป็นสิ่งนี้ สิ่งนี้มีในฉัน ฉันมีในสิ่งนี้ เป็นไปแบบนี้ รูปด้วย ข้าวของสิ่งต่าง ๆ ด้วย ปรุงแต่งไปแบบนี้ นี้คือเบื้องต้นในการทำงานของขันธ์ 5 ที่มีลักษณะอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไร แม้แต่นอนหลับอยู่หรือนอนไม่หลับ ขันธ์ 5 ก็ยังมีอยู่ ทำงานแบบนี้อยู่ตลอด เราจะเข้าใจมันไหม? ถ้าเราเข้าใจมัน เข้าใจการทำงานของมันได้ นี้จะเป็นปัญญาทำให้เรามีความฉลาดได้ และในตอนหน้าจะได้มาเพิ่มเติมส่วนประเด็นที่ต้องทำในเรื่องของขันธ์ 5 ว่าจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการศึกษานี้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) S08E03 , S07E55 , S07E34 , ใต้ร่มโพธิบท S07E56 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
25 Nov 2018 | สภิยะผู้ข้ามพ้นสงสัย 6148-1d | 01:03:51 | |
สภิยสูตร ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาของสภิยปริพาชกถึง 20 คำถาม (โดยแบ่งคำถามเป็น 5 ส่วน ๆ ละ 4 คำถาม)คำตอบของทุกคำถามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบ รวมลงมาที่ความพ้นทุกข์ (ทางพ้นทุกข์)ทั้งสิ้น มีความสวยงามทางด้านภาษาศาสตร์ มีความใกล้เคียง คล้องจอง มีความหมายต่อเนื่องกันจนรวมลงที่นิพพานได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
14 Jan 2020 | ความเป็นพหูสูต 6303-3d | 01:00:00 | |
เมื่อใดที่กล่าวถึงคำว่า "พหูสูต" จะต้องมีกลุ่มคำเหล่านี้ต่อพ่วง เกี่ยวพันมาด้วยกัน (Associate) ซึ่งที่เราได้ยินเป็นประจำ ก็คือ เป็นผู้สดับฟังมามาก, ทรงจำไว้ได้, ท่องได้คล่องปาก, ขึ้นใจ และแทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น (ทิฏฐิ) ซึ่งธรรมอันงดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เป็นการประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ด้วยคุณสมบัติ 5 อย่างนี้ ที่เมื่อมาประกอบกันแล้ว จะทำให้ความเป็นพหูสูตเกิดขึ้น ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ จะมากหรือน้อยไม่เท่ากัน อันนี้เป็นธรรมดา แต่อย่างน้อยที่สุดต้องมี "การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม" คือ การที่เรานำเอามาปฏิบัติ แล้วทำให้ถึงที่สุด ทำให้เกิดขึ้นในใจ จิตใจที่มีสัมมาทิฏฐิ มีกิเลสลดลง ถือว่าเราเป็นพหูสูตแล้ว เป็นในระดับที่จะทำให้ความดีนั้นสืบต่อไปได้ ให้ความดีนั้นไม่มาสุดจบลงที่ตัวเรา จึงเรียกได้ว่าเป็น พหูสูตผู้ทรงธรรม [231] พหูสูตมีองค์ 5 (คุณสมบัติที่ทำให้ควรได้รับชื่อว่าเป็นพหูสูต คือ ผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน)พหุสสุตา ฟังมาก คือ ได้เล่าเรียนสดับฟังไว้มากธตา จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำความไว้แม่นยำวจสา ปริจิตา คล่องปาก คือ ท่องบ่นหรือใช้พูดอยู่เสมอจนแคล่วคล่อง จัดเจนมนสานุเปกขิตา เพ่งขึ้นใจ คือ ใส่ใจนึกคิดพิจารณาจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัดทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา ขบได้ด้วยทฤษฎี หรือ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ คือ ความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์แจ้งด้วยปัญญา ทั้งในแง่ความหมายและเหตุผล องฺ.ปญฺจก. 22/87/129 แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: ใต้ร่มโพธิบท S07E18 , ตามใจท่าน S10E02 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
26 Oct 2021 | สาธุนรธรรม (ธรรมะของคนดี) [6443-3d] | 00:58:06 | |
การจะปรับเปลี่ยนคนไม่ดีให้เป็นคนดีได้ ต้องใช้ความดีเท่านั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เป็นธรรมะของคนดี 4 ข้อ จงเดินไปตามทางที่ท่านเดินไปแล้ว จงอย่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม อย่าประทุษร้ายในหมู่มิตร ไม่ว่าในกาลไหน ๆ และอย่าตกอยู่ในอำนาจของอิสตรีที่ดูหมิ่นชาย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
01 Nov 2022 | มงคลชีวิต 17 #ธรรมจริยา [6544-3d] | 01:01:51 | |
“ธรรมจริยา” เป็นมงคลชีวิตที่เป็นส่วนของสังคมภายนอก ที่ว่าเราจะประพฤติธรรมอย่างไร โดยจำแนกด้วยหมวดธรรมะต่างๆ ประการแรก ธรรมะคืออะไร ประการที่สอง ธรรมะคือกุศลกรรมบท 10 อย่าง คือ การประพฤติธรรมในเรื่องของช่องทางที่กระทำทางกาย วาจา ใจ ประการที่สาม คือ การประพฤติธรรมให้มีหลักความเที่ยงธรรม ความยุติธรรม ต้องไม่ลำเอียงเพราะ “รัก โกรธ หลง กลัว” ประการที่สี่ เรื่องว่าจะเอาอะไรเป็นใหญ่ ธรรมะเป็นใหญ่ “ธัมมาธิปไตย” หรือ “โลกาธิปไตย” หรือตนเองเป็นใหญ่ “อัตตาธิปไตย” คือ การพึ่งตนพึ่งธรรม และประการสุดท้าย คือ จำแนกตามสังฆคุณ 9 ประการ เมื่อมีธรรมจริยาแล้ว จะทำให้เป็นมงคลได้ มีความก้าวหน้ามีการพัฒนามีความเจริญ เพราะมีการลงมือปฏิบัติ เกิดการเดินไปตามทางให้ถึงจุดหมาย นั่นจึงเป็นมงคลในชีวิต Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
24 Dec 2019 | อนุตตริยะ 6 6252-3d | 01:06:18 | |
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน "อนุตตริยสูตร" เปรียบเทียบส่วนเหมือนส่วนต่างให้เห็นถึงว่า สิ่งทั่วไป ๆ ที่ชาวโลกชาวบ้านเขามักจะเข้าใจว่า เป็นการได้ เป็นการเห็น เป็นการฟัง เป็นการบำรุง และเป็นการระลึกถึง เป็นการศึกษา ที่จะคิดว่ามันจะดี ก็ยังไม่เป็นไปเพื่อสัมโพธิ ความรู้ยิ่ง หรือนิพพาน ยังไม่กล่าวว่า ยอดเยี่ยมจริง ๆ แต่การได้ยิน ได้เห็นอะไร การศึกษาเรื่องอะไร ระลึกถึงสิ่งไหน แล้วมันไม่เป็นด้วยสาธารณะกับของคนอื่น เป็นของเฉพาะตน เป็นไปเพื่อปัญญา เป็นไปเพื่อนิพพาน อันนั้นสุดยอดกว่า ถ้าเราไม่เห็นไม่เข้าใจแสดงว่า ความรัก ความศรัทธาตั้งมั่น ยังไม่เต็มที่ ให้ฝึกให้มีความรัก ความศรัทธาตั้งมั่น ในพระพุทธเจ้าและในคำสอน เราจะเห็น จะเข้าใจในข้อนี้ได้ อนุตตริยสูตร ว่าด้วยสิ่งยอดเยี่ยม 6 อย่างทัสสนานุตริยะ - การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวกรวมถึงสิ่งทั้งหลายที่จะให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งจิตใจสวนานุตตริยะ - การฟังอันเยี่ยม ได้แก่ การสดับธรรมของพระตถาคต และ ตถาคตสาวกลาภานุตตริยะ - การได้อันเยี่ยม ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระตถาคตและตถาคตสาวก หรือการได้อริยทรัพย์สิกขานุตตริยะ - การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ปาริจริยานุตตริยะ - การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวกอนุสสตานุตตริยะ - การระลึกอันเยี่ยม ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก โดยสรุปคือ การเห็น การฟัง การได้ การศึกษา การช่วยรับใช้ และการรำลึกที่จะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ล่วงพ้นโสกะปริเทวะ ดับสูญทุกข์โทมนัส เพื่อการบรรลุญายธรรม ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน #1952-2m0811 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
14 Oct 2018 | เสวิตัพพสูตร ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ 6142-1d | 00:56:15 | |
เสวิตัพพสูตร/เสวิสูตร ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อความก้าวหน้าในธรรมะวินัยนี้ คือ มีการพัฒนาขึ้น มีการที่จะปรับปรุงไปในทางที่ดีขึ้นได้ถ้าเราจะให้ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นองค์แห่งมรรคของเราให้เจริญขึ้นได้ อย่าไปคบคนที่มีศีล สมาธิ และปัญญาต่ำกว่า แต่ให้คบคนที่มีอย่างน้อยเสมอกับเรา หรือสูงกว่าจะคบคนที่มีศีล สมาธิสูงกว่าได้ ควรมีการสักการะเคารพมาก่อน แล้วจึงค่อยเสพคบด้วย เพราะว่าต้องมีการเมตตาอนุเคราะห์กันด้วยใจอันงามตรงนี้จะมีเมตตา มีความอนุเคราะห์กันได้ ต้องมีจิตใจที่อ่อนนุ่ม นุ่มนวล นอบน้อม พระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบไว้ใน ชิคุจฉิตัพพสูตร ว่าด้วยบุคคลที่ควรรังเกียจ ไม่ควรคบด้วยเลยศีล สมาธิ ปัญญา ก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งการเสพคบกับทั้งบุคคลหรือข้อปฏิบัติเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้ ศีล สมาธิ ปัญญาของเราดีขึ้น จะสามารถทำให้เกิดผลเป็นความสุขที่เกษมขึ้นมาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
05 Oct 2021 | กสิณ | 00:59:56 | |
กสิณทั้ง 10 อย่างเป็นมรรค เป็นการฝึกสมาธิแบบหนึ่ง โดยการเห็นสิ่งนั้นแล้วจ้องดู เพ่งดู จะลืมตาหรือหลับตาก็ตาม แล้วทำให้รวมเข้ากันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมด ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงประกาศสอนไว้ เพื่อใช้เป็นทางไปสู่พระนิพพาน โดยการฝึกนี้ควรต้องอยู่ในชีวิตประจำวันของเราด้วย ข้อควรระวัง ในการฝึกกสิณนั้น อย่าให้มีความอยากได้ฤทธิ์ เพราะจะไปติดกับดักหลุมพรางของกิเลส และอาจทำให้เกิดความวิปลาสได้ เราเพียงใช้เป็นทางผ่านเท่านั้น อย่าไปยึดถือผิดจุด เพราะแม้ยึดถือในสิ่งที่ดี ก็ยังเป็นโทษ แต่ให้ใช้เป็นสรณะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
17 Sep 2019 | อย่าเป็นพาลหาโทษใส่ตน แต่เป็นผู้คุ้มครองตนด้วยปัญญา | 00:13:44 | |
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ใน "ขตสูตร" เปรียบเทียบในสองนัยยะ ถึงคุณสมบัติและการประกอบด้วยธรรมของบุคคล 2 กลุ่มไว้ในเรื่องของการสรรเสริญ การติเตียน และความเลื่อมใส และว่าด้วยเรื่องการประพฤติปฏิบัติต่อบุคคล 4 ซึ่งเป็นผู้มีอุปการะต่อเรา โดยกลุ่มหนึ่งเป็นคนพาล ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ไม่รู้จักคุ้มครองรักษาตน หาโทษใส่ตัว มีบาปกรรม ถูกเขาติเติยนได้ จึงเป็นบุคคลผู้หาโทษ และประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นบัณฑิต ฉลาดเฉียบแหลม รู้จักคุ้มครองรักษาตน สร้างบุญ ทำประโยชน์ ทำสิ่งที่ไม่เกิดโทษแก่ตน จึงเป็นบุคคลผู้หาโทษมิได้ และประสบสิ่งที่เป็นบุญเป็นอันมาก ให้รู้จักสรรเสริญ รู้จักเสื่อมใส รู้จักที่จะเข้าไปปรนนิบัติดูแลถ้าเป็นมารดาบิดา รู้จักฟังคำสอน ปฏิบัติตามคำสอน ถวายอามิสทาน อุปัฏฐากอุปถัมภ์ในเหล่าสาวกของพระพุทธเจ้า หรือในพระพุทธเจ้าก็ตาม แค่ว่าเรายกประคองอัญชลี (ยกมือขึ้นไหว้) ก็ชื่อว่าในเรือนนั้นมี อัญชลีกรณียบุคคล ให้ทานด้วยก็ชื่อว่า ทักขิเณยบุคคล ขตสูตรที่ 1 กล่าวถึง บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เป็นคนพาล ไม่เฉียบแหลม ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนที่ปราศจากคุณสมบัติ ย่อมเป็นผู้ประกอบไปด้วยโทษ นักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก คือ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว กล่าวสรรเสริญคุณของผู้ไม่ควรสรรเสริญ ไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว กล่าวติเตียนผู้ที่ควรสรรเสริญไม่ใคร่ครวญสืบสวนให้รอบคอบแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส ไม่ใคร่ครวญสืบสวน ให้รอบคอบแล้ว ยังความไม่เลื่อมใสให้เกิดในฐานะที่ควรเลื่อมใส ในทางกลับกัน เมื่อบุคคลใคร่ครวญสืบสวนรอบคอบแล้วประกอบด้วยธรรม 4 ประการ เป็นบัณฑิตเฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ย่อมคุ้มครองตนให้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ เป็นผู้หาโทษมิได้ ทั้งนักปราชญ์ไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก "ผู้ใด ย่อมสรรเสริญผู้ที่ควรนินทา หรือย่อมนินทาผู้ที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมค้นหาโทษด้วยปาก ย่อมไม่ได้ประสบสุขเพราะโทษนั้น ความพ่ายแพ้การพนันด้วยทรัพย์ทั้งหมด พร้อมด้วยตน มีโทษน้อย การที่ยังใจให้ประทุษร้ายในท่านผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้แหละ เป็นโทษใหญ่กว่า (โทษการพนัน) ผู้ที่ตั้งวาจา และใจอันเป็นบาปไว้ติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรกสิ้นแสนสามสิบหกนิรัพพุททะ และห้าอัพพุททะ ฯ"…ขตสูตรที่ ๑ ขตสูตรที่ 2 กล่าวถึงบุคคลผู้ปฏิบัติชอบในบุคคล 4 เหล่านี้ คือ มารดา, บิดา, พระพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นบัณฑิตฉลาด เป็นสัตบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้เสื่อมเสีย เป็นผู้ไม่มีโทษ ทั้งนักปราชญ์ก็สรรเสริญ และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ในทางกลับกัน หากบุคคลปฏิบัติผิดในบุคคลเหล่านี้ เป็นคนพาล ไม่ฉลาด ไม่ใช่สัตบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ปราศจากคุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ ทั้งนักปราชญ์ติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก "นรชนใด ปฏิบัติผิดในมารดา บิดา พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคต นรชนเช่นนั้น ย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนนรชนนั้น ในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่ไม่ประพฤติธรรม ในมารดาบิดา และเขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมไปสู่อบาย ส่วนนรชนใดปฏิบัติชอบในมารดาบิดา ในพระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระตถาคต นรชนเช่นนั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้ทีเดียว เพราะเหตุที่ประพฤติธรรมในมารดาบิดา และเขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ในสวรรค์ ฯ"…ขตสูตรที่ ๒ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: สมการชีวิต Ep.25 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
09 Jul 2019 | เข้าใจขันธ์ 5 ได้ ต้องหมั่นเจริญมรรค 6228-3d | 00:52:43 | |
สีลวันตสูตร/สีลสูตรว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย เป็นเรื่องราวของท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ สนทนาปรารภเรื่องภิกษุผู้มีศีลควรกระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย? คนที่มีศีลเป็นพื้นฐาน หมั่นฟังธรรมอยู่เป็นประจำแล้ว ควรจะมนสิการโดยแยบคายในอุปาทานขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน พิจารณาลงไปจนเห็นชัดว่า ไม่มีอะไรเป็นสาระควรค่าแก่การยึดถือ การแยกแยะแจกแจงถึงความเป็นอริยบุคคล 4 ประเภทนี้…ทำให้ละเอียดแยบคายลึกซึ้งลงไปเป็นขั้นตอน ๆ เหมือนนายขมังธนูที่คอยฝึกซ้อม ซ้อมแล้วซ้อมอีก ยิงท่าเดิม ลูกศรแบบเดิม แต่ความชำนาญมันมีมากขึ้น โดยดูจากความทุกข์ที่ลดลงไปทุกขั้นตอนของการปฏิบัตินั่นเอง ดูจากจิตของเราที่มีความนุ่มลงสงบลงนั่นเอง ดูตรงนี้ จะสามารถทำให้มีความก้าวหน้าในทางปฏิบัติได้…มรรคแปดต้องทำให้มาก หมั่นเจริญให้มาก มีการพิจารณาอยู่อย่างนี้ เราปฏิบัติตามมรรค 8 จะเข้าใจขันธ์ 5 ได้ แนะนำรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ Playlists: เข้าใจทำ (ธรรม) Ep.37 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
22 Dec 2020 | รื่นเริงทางโลก เบิกบานทางธรรม ด้วยศีล 7 บริษัท 3 | 00:55:12 | |
…เมื่อไม่ชอบสิ่งใด อย่าทำสิ่งนั้นกับผู้อื่น… ความเป็นปกติ 7 อย่าง คืออะไร ?วาจาสำคัญอย่างไรในยุคปัจจุบัน ?อะไรคือเหตุแห่งความสามัคคีหรือแตกแยก ?หาคำตอบได้ที่ใต้ร่มโพธิบท ตอน รื่นเริงทางโลก เบิกบานทางธรรม ด้วยศีล 7 บริษัท 3 Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
16 Feb 2021 | ศรัทธา 4 วิจิกิจฉา 8 การละอีก 6 6407-3d | 01:01:56 | |
การเพิ่มกำลังของปัญญาเพื่อต่อสู้กับกิเลสได้นั้น ก็ด้วยการปลูกศรัทธาให้เจริญงอกงาม ซึ่งประกอบด้วยศรัทธา 4 ประเภท ในขณะเดียวกันก็จะมีศัตรูที่จะมาขวางทางของศรัทธาเพื่อไม่ให้เกิดความมั่นใจได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็คือ วิจิกิจฉา 8 อย่างนั่นเอง ทั้งนี้จะสามารถกำจัดวิจิกิจฉาทั้งหมดออกไปจากจิตได้ก็ต้องอาศัยธรรมสำหรับการละวิจิกิจฉาทั้ง 6 ประการ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
24 May 2022 | ธรรมที่เป็นที่พึ่ง [6521-3d] | 00:58:01 | |
‘นาถกรณธรรม’ เป็นธรรมหมวด 10 ในอังคุตรนิกาย กล่าวถึง ธรรมที่เป็นที่พึ่ง 10 ประการด้วยกัน การที่เราน้อมระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งนั้น ไม่ใช่ด้วยการสวดมนต์ อ้อนวอนเท่านั้น แต่รวมถึงการที่เราต้องประกอบตนให้มีคุณธรรม คือ ‘นาถกรณธรรม’ นี้ เพื่อให้เกิดปัญญาในการชำแรกกิเลสด้วย ทั้งนี้ ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีคุณธรรมต่างๆ มาประกอบเช่นกัน เริ่มจากต้องมี ศีล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด การฟังธรรมให้มาก มีกัลยาณมิตร เป็นผู้ว่าง่าย ใส่ใจการงาน ใคร่ในธรรมเพื่อต่อยอดความรู้ ปรารภความเพียร สันโดษ มีสติ และเกิดปัญญา ในการเห็นการเกิด-ดับ เพื่อละวางความยึดถือ ให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้ นี้จึงเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
19 Jul 2022 | มงคลชีวิต 2 # ไม่คบคนพาล [6529-3d] | 00:59:32 | |
‘ไม่คบคนพาล’ เป็นมงคลข้อแรก ที่ท่านพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า เกิดความดีขึ้นในชีวิต เพราะความพาลนั้น คล้ายดั่งเชื้อโรค ติดต่อกันได้ การคบคนพาล จึงจะทำให้ความคิด การพูด หรือการกระทำของเราเป็นไปในทางอกุศลได้ ‘คนพาล’ จะมีลักษณะ 5 ประการคือ จะชักนำไปในทางที่ผิด เห็นผิดเป็นชอบ ทำในสิ่งที่ธุระไม่ใช่ พูดดีๆ ด้วยก็โกรธ และไม่รับรู้ระเบียบวินัย ทั้งนี้ แยกแยะได้ โดยเราพิจารณาจาก กุศลธรรม เป็นที่ตั้ง แน่นอนว่า บางครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอกับคนพาล และจำเป็นต้องอยู่ใกล้กัน แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องคบหาเสวนาด้วย ทั้งนี้ การ ‘เลือกคบบัณฑิต’ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี ซึ่งจะขอกล่าวในตอนต่อไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
22 Jun 2021 | คุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ 6425-3d | 00:36:45 | |
ธัมม์ทั้ง 5 ประการ คือ โจทก์โดยกาลควร ด้วยเรื่องจริง ด้วยคำอ่อนหวาน ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ และด้วยเมตตาจิต บุคคลผู้โจทก์พึงตั้งตนอยู่ในธัมม์นั้น แม้บุคคลผู้ถูกโจทก์พึงตั้งตนอยู่ในธัมม์ 2 ประการ คือ ความจริง และความไม่โกรธ การสำรวมวาจาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง บุคคลพึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแล เป็นสุภาษิต Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
08 Jan 2019 | การเบียดเบียน 6202-3d | 00:49:59 | |
“การเบียดเบียน” หมายถึง ความคิดประทุษร้ายให้คนอื่นนั้นได้ไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นคือการเบียดเบียนผู้อื่น ส่วนการเบียดเบียนตัวเองนั้น คือ การคิดให้ตัวเองได้ไม่ดีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การน้อยเนื้อต่ำใจ โทษตัวเอง ความขี้เกียจ ความโกรธ ความไม่พอใจ ฯลฯ โดยเป็นความคิดตริตรึกไปในทางเบียดเบียน ซึ่งบางทีอาจจะไม่ได้เจตนา แต่กิเลสมันพาไป และการที่ไม่ตริตรึกในทางที่จะไม่เบียดเบียนคนอื่น นั่นเป็นสัมมาสังกัปปะ “การกระทบกระทั่ง” ซึ่งเราอยู่ในโลกในสังสารวัฏ มันมีการกระทบกระทั่งกันแน่นอน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจจะเบียดเบียน การเบียดเบียน การกระทบกระทั่ง มีหลายระดับ คือ การเบียดเบียนโดยตรง ทางอ้อม การเบียดเบียนในทาง Supply chain ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หรือการทำตนเองให้ลำบากโดยไม่จำเป็น การกังวลต่อบาปมากเกินไป นั่นไม่ใช่ทางที่ถูกต้อง แต่ความกลัวความละอายต่อบาป คือ หิริโอตตัปปะ นั้นต้องมี จะอยู่ในระดับไหนถึงเหมาะสมกับการที่จะให้ชีวิตของเราดำเนินไปได้ เพราะการเบียดเบียน การกระทบทั่งกันในสังสารวัฏ มันมีแน่นอน ที่จะไม่กระทบกัน ไม่มีแน่นอน ถ้าเราปฏิบัติตามมรรคแปดได้ กระบวนการเบียดเบียนที่มันมีอยู่ กระทบกระทั่งกันให้เกิดความพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง มันก็จะค่อยลดลงได้ ๆ ตามขั้นตอน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
11 May 2021 | วิญญาณฐิติ และจิต 6419-3d | 00:57:38 | |
ความหลากหลายและแตกต่างของสัตว์โลกที่มีภพภูมิต่างกัน ทั้งกายต่างกัน เหมือนกัน หรือสัญญาต่างกัน เหมือนกัน ไม่ว่าจะเกิดในภพใดก็ตาม ก็ยังไม่สามารถพ้นไปจากทุกข์ได้ ตราบใดที่ยังมีกิเลส ย่อมมีที่ตั้งของปฏิสนธิ ที่เป็น วิญญาณฐิติ การอบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูก เห็นถูกไปตามลำดับ ความไม่ประมาทในการเจริญกุศล คือ การดับแห่งเหตุของกิเลสทั้งปวง เรามักจะคุ้นเคยหรือได้ยินได้ฟังบ่อยครั้งกับคำว่า "จิตวิญญาณ" จึงควรทำความเข้าใจเพื่อให้จิตไปเกิดในภูมิที่ต้องการ สืบเนื่องจากการเป็นกระแสต่อ ๆ กันไปในความยึดถือสิ่งต่าง ๆ ด้วยความเป็นตัวตน วิญญาณก้าวลงไปยึดถือ เพราะมีตัณหาเป็นเหตุ "วิญญาณฐิติ" หรือฐานที่ตั้งแห่งวิญญาณ ถูกเข้าไปยึดถือโดยวิญญาณจนกลายเป็นจิตขึ้นมา ให้เห็นด้วยปัญญาว่าตัวตนไม่ใช่ตัวตน ไม่มีสาระแก่นสาร ไม่มีค่าที่จะยึดถือเอาไว้ เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และปล่อยวางได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
17 May 2022 | คำพูดที่ควรกล่าว [6520-3d] | 01:00:26 | |
คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ ท่านพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไว้ถึง ‘กถาวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ควรพูด นอกเหนือจาก คำพูดที่เว้นขาดจากการพูดโกหก ส่อเสียด หยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ และ ‘อักโกสวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีประโยชน์ และทำความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ผู้อื่น ได้แก่ ชาติกำเนิด ชื่อ โคตร อาชีพ ศิลปะ (ฝีมือ) โรค รูปพรรณสัณฐาน กิเลส อาบัติ และคำสบประมาทอื่น ๆ ส่วน ‘กถาวัตถุ 10’ เรื่องที่สมควรพูด ได้แก่ ถ้อยคำให้เกิดความมักน้อย คือ ไม่โอ้อวด ความสันโดษ เกิดความสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ให้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งการพูด ‘กถาวัตถุ 10’ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาได้นั้น นอกจากจะเป็นสัมมาวาจาแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างสัมมาสติ สัมมาวายามะ และสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ ไปตามทางมรรค 8 พร้อมกันอีกด้วย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
02 Dec 2018 | เมถุนสังโยค 7 6149-1d | 00:53:32 | |
“เมถุนสูตร” ว่าด้วยชานุสโสณีพราหมณ์ได้กราบทูลถามถึงความบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธองค์อะไรชื่อว่าความขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่ง พรหมจรรย์ ฯเปรียบเทียบส่วนต่างระหว่างการประพฤติพรหมจรรย์กับเมถุนธรรม (ศีลข้อที่ 3 ในศีลห้าและในศีลแปด)ข้อแตกต่างระหว่างความชื่นชมยินดีมีความปลื้มใจไปในกามคุณทั้งหลายกับความมุทิตา (การอนุโมทนา)เจริญอสุภะสัญญา เพื่อละความกำหนัดเพลิดเพลินในเมถุนธรรม Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
15 Nov 2022 | มงคลชีวิต 19 #การงานไม่มีโทษ [6546-3d] | 00:59:04 | |
การงานไม่มีโทษ หมายถึง ไม่ถูกติเตียน เป็นสิ่งที่จะทำให้เรานั้นเป็นมงคลในชีวิต เพราะว่าการงานที่ถูกติเตียนได้ มันดีไม่เต็มที่ ได้ผลไม่เต็ม การงานบางอย่างทำไปทางกาย วาจา ใจ ไม่ว่างานราษฎร์ งานหลวง งานตนเอง หรืองานส่วนรวม ถ้าทำแล้วมันผิด ผิดในหลักศีล หลักกฎหมาย หลักธรรม และหลักประเพณี มันจะมีโทษแฝงอยู่ มันจะได้ผลไม่เต็มที่ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
12 Oct 2021 | ปัญญา 3 ระดับ | 00:48:43 | |
ในการฟังธรรม เราสามารถน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามได้จริง ๆ หรือเปล่า นั่นคือ แสดงถึงปัญญาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ปัญญาของบุคคลมี 3 ระดับ ซึ่งสามารถพัฒนาได้ จากปัญญาที่มีลักษณะเหมือนหม้อคว่ำ คือ จำอะไรไม่ได้เลย มาเป็นลักษณะเหมือนตัก คือ จำได้เฉพาะเวลาที่นั่งฟังอยู่ พัฒนาจนมีปัญญากว้างขวาง มีลักษณะเหมือนหม้อหงาย คือ นำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน อย่าให้ธรรมะอยู่แค่เฉพาะในวัด ที่พระ ในตำราคัมภีร์ หรือในซีดีเท่านั้น ที่สำคัญคือ เราได้พัฒนาปัญญาจนกระทั่งน้อมนำธรรมะที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง มาทำได้ในชีวิตของเราทุก ๆ ขณะ มีสติระลึกได้ ไม่ตามกระแสที่พัดไปของกิเลส และตัณหา จึงจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ในธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
16 Aug 2022 | มงคลชีวิต 6 # มีบุญวาสนา [6533-3d] | 00:59:23 | |
ท่านพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน “ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา” ทำความดีไว้ก่อน เพราะ ‘บุญ’ เป็นชื่อของความสุข บาปที่สะสมไว้ เรียกว่า ‘อาสวะ’ ตรงข้ามกับ บุญที่สะสมไว้ๆ เรียกว่า ‘วาสนา’ ผู้ไม่ประมาทจึงต้องสะสมบุญความดีไว้ให้มาก จนเป็นวาสนา เพื่อผลในปัจจุบัน และต่อๆ ไป เหมือนดอกเบี้ยทบต้น ทั้งนี้ ‘การทำดี’ (บุญกิริยาวัตถุ 10) ทำได้หลายทาง โดยกล่าวไว้ 2 นัยยะ นัยยะแรก คือ ทางกาย 3 วาจา 4 และใจ 3 และอีกนัยยะ คือ ทาน ศีล ภาวนา ความอ่อนน้อม การช่วยเหลือผู้อื่นด้วยแรง และปัญญา การแผ่อุทิศส่วนบุญ การอนุโมทนาบุญ การฟังธรรม การสอนธรรม และการทำความเห็นให้ตรง นอกจากนี้ ในกัมมวิภังคสูตร ยังอธิบายถึงลักษณะของ อายุ หน้าตา ยศ ฐานะ เป็นต้น ที่เป็นผลของการสะสมบุญวาสนามานั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
08 Jun 2021 | ธรรมที่มีอุปการะมาก 6423-3d | 00:59:04 | |
องค์ธรรมอันเกื้อกูลบุคคลให้ดำรงตนอย่างถูกต้องดีงาม ทั้งในด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม มีกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เป็นธรรมอันมีคุณสมบัติพร้อมแห่งการเอื้อเฟื้อประโยชน์สุขแก่บุคคล เปรียบดั่งบิดามารดาผู้อนุเคราะห์บุตร ให้ตั้งตนอยู่ในความดีงาม ธรรมทั้ง 55 ข้อนี้ เป็นองค์ธรรมที่มีอุปการะมาก เกื้อกูลการกระทำความดีให้มั่นคง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
10 Nov 2018 | วิธีจัดการกับโลกธรรม 6145-7d | 01:02:07 | |
ความหมายของคำว่า “โลกธรรมแปด”วิธีจัดการกับโลกธรรม เพื่อถึงซึ่งความพ้นทุกข์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
14 Dec 2021 | อุเบกขา 10 [6450-3d] | 01:00:09 | |
❝ อุเบกขา 10 ❞ หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลาง ๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว เช่น ไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแส หรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้ เป็นต้น ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือ เป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคง ไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผล ถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้ เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้ อุเบกขา 10 ประเภท ได้แก่... 1) อุเบกขาในพรหมวิหาร 4 เป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้ พิจารณาปลงใจลงไปในกรรมว่า "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน ทำดี จักได้ดี ทำชั่ว จักได้ชั่ว แต่ละสัตว์บุคคล ทั้งตนเอง แต่ละคน ย่อมต้องเป็นไปตามกรรมของตน ตามที่ตนได้กระทำไว้" และยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ก็พิจารณาโดยถึงปรมัติ คือ โดยเนื้อความที่ละเอียด ลุ่มลึก ว่า "ที่เรียกว่า สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา นั้น เป็นสมมุติบัญญัติ และโดยปรมัติแล้ว ไม่มีสัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา เมื่อพิจารณาดังนี้ จะทำให้จิตใจปล่อยวางความยึดถือในสัตว์ หรือโดยความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาได้" 2) อุเบกขาในอายตนะ 6 คือ การวางเฉยในอายตนะทั้ง 6 3) อุเบกขาในความเพียร คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป 4) อุเบกขาในโพชฌงค์ ❝โพชฌงค์ 7 ❞ เป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม อุเบกขาในโพชฌงค์ จึงหมายถึง จิตมีอุเบกขา เป็นองค์ประกอบในการที่เราจะรู้ธรรมะ เห็นธรรมะ ให้เกิดการปล่อยวาง ละกิเลส ตัณหา อวิชชาได้ ให้ออกไปจากจิตใจได้ อุเบกขาตัวนี้จึงเป็นผลกันมาของโพชฌงค์ทั้ง 7 5) อุเบกขาในฌาน อุเบกขา ตั้งแต่ฌาน 3 ขึ้นไป "เธอมีความคิดดังนี้ว่า มิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข" "เธอยังไม่ยินดีเพียงตติยฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้นเราพึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่" #พระพุทธพจน์ 6) อุเบกขาในเวทนา เวลาเราวางความสุข ความทุกข์ อทุกขมสุข (ความไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข) แล้ว ก็จะเหลืออุเบกขาในเวทนา อุเบกขาในเวทนา จึงเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ที่ว่ามันละเอียดลงไปกว่าอทุกขมสุข 7) อุเบกขาในสังขาร คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 (สังขาร ในที่นี้หมายถึง ขันธ์ 5) ต้องเห็นขันธ์ 5 โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความวางเฉยเกิดขึ้นแน่นอน เพราะจิตเราจะไม่เข้าไปยึดถือสิ่งนั้น โดยความเป็นตัวตน เราก็จะไม่ยินดี ยินร้าย สะดุ้ง สะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงของขันธ์ 5 นั้น อุเบกขามันจึงแทรกอยู่ในวิปัสสนาแทรกอยู่ในสังขารนี้ด้วย หมายความว่า คุณทำวิปัสสนาแล้ว อุเบกขานั้น จึงเป็นสิ่งที่หวังได้ วางเฉยได้ในสังขาร 8) อุเบกขาในวิปัสสนา "วิปัสสนา" แปลว่า เห็นตามความเป็นจริง เห็นตามความเป็นจริงโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา 9) อุเบกขาในเจตสิก หรือ อุเบกขาที่ยังธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน ไม่ว่าจะเรื่องพรหมวิหาร 4 อายตนะ ความเพียร โพชฌงค์ ฌาน เวทนา สังขาร และวิปัสสนา เพราะมันอยู่ในจิต องค์ประกอบของจิตตรงนี้ ก็คือ "เจตสิก" เป็นอุเบกขาในเจตสิก จึงเป็นเหตุให้อุเบกขานั้น ไปอยู่ในทุกที่ทุกอย่างทุกส่วนได้ 10) อุเบกขาในสติบริสุทธิ์ อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก อุเบกขาปราศจากข้าศึก อุเบกขาที่มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา คำนี้อยู่ในหัวข้อของฌานที่ 3 ❝ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ❞ #พระพุทธพจน์ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
06 Dec 2022 | มงคลชีวิต 22 #การไม่ประมาทในธรรมะ [6549-3d] | 00:48:47 | |
เมื่อไม่ประมาทในเรื่องเวลา วัย ชีวิต ความไม่มีโรค งาน การศึกษา และการปฏิบัติธรรม เราก็สามารถที่จะเลิก ละ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และละมิจฉาทิฏฐิได้ สิ่งที่เหลืออยู่นั้น ก็จะทำให้เกิดการปฏิบัติในกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต และสัมมาทิฏฐิ นั่นคือ การไม่ประมาทในธรรมะทั้งหลาย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
13 Dec 2022 | มงคลชีวิต 23 #ความเคารพ [6550-3d] | 00:57:28 | |
"คารวะ 6" คือ การมองเห็นคุณค่า และความสำคัญ แล้วปฏิบัติต่อบุคคลนั้น หรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง มี 6 ประการ ได้แก่ ความเคารพในพระศาสดา ความเคารพในพระธรรม ความเคารพในหมู่สงฆ์ ความเคารพในสิกขา ความเคารพในความไม่ประมาท และความเคารพในปฏิสันถาร ธรรม 6 อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแห่งภิกษุ ความไม่เสื่อม ก็คือ ไม่เคลื่อนไปสู่ทางเสื่อม ไปทางที่จะตรงข้ามกับนิพพาน ถ้าคุณเห็นคุณค่าในธรรมะทั้ง 6 ประการนี้ จะมีความเจริญก้าวหน้าในจิตใจ ผ่านพ้นภัยต่างๆ มีนิพพานเป็นที่สุดจบ ไม่เสื่อมจากพระสัทธรรมได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
13 Dec 2022 | มงคลชีวิต 20 #การงดเว้นจากบาป [6547-3d] | 01:00:01 | |
หิริ ความละอาย รังเกียจต่อบาป และโอตตัปปะ ความกลัวต่อบาป คือ หลักธรรมในการเว้นจากบาป และงดจากบาปที่เราจะลงมือกระทำได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
13 Dec 2022 | มงคลชีวิต 21 #เว้นจากการดื่มน้ำเมา [6548-3d] | 00:58:19 | |
อย่าไปแสวงหาทุกข์จากความสุข โดยการดื่มน้ำเมา ถึงแม้บางทีเราต้องเจอความทุกข์ เพื่อให้ได้สุขในภายภาคหน้า เช่น เราทำความเพียร ต้องรักษาศีล 8 ต้องอดข้าวเย็น บางทีมันก็หิว...อดทนเอา แต่ว่าสุขคืออะไร คุณมีศีล จิตคุณจะสงบได้ต่อไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
20 Dec 2022 | มงคลชีวิต 24 #ความอ่อนน้อมถ่อมตน [6551-3d] | 00:58:57 | |
การอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นการพิจารณาน้อมเข้ามาในตัวเองว่า เรามีความบกพร่องตรงไหน มีข้อไม่ดีตรงไหน เราจึงอ่อนน้อมถ่อมตน เพื่อที่จะสามารถข่มทิฎฐิมานะของตนเองให้ได้ ชาติตระกูล ทรัพย์สมบัติ รูปร่างหน้าตา ความรู้ความสามารถ ยศตำแหน่ง และบริวาร ถ้าเราเห็นความดี หรือหลงใน 6 อย่างนี้ จะทำให้เรามีความยกตนข่มท่าน ไม่อ่อนน้อมถ่อมตนได้ การอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ใช่การลดศักดิ์ศรีของตนเอง แต่เป็นการลดทิฏฐิมานะ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
27 Dec 2022 | มงคลชีวิต 25 #ความสันโดษ [6552-3d] | 00:57:47 | |
"สันโดษ" มาจากคำว่า "สนฺตุฏฺฐิ" มาจากคำว่า “สนฺโตส” คือ ยินดีในตน หมายความว่า ยินดีตามมี ยินดีตามได้ และยินดีตามควร ส่วนมักน้อย มาจากคำว่า "อปปิจฺ" เป็นคนละส่วนกัน มักน้อยไม่ใช่สันโดษ มักน้อยพูดถึงสิ่งของที่ได้ แต่สันโดษเป็นเรื่องของจิตใจ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
03 Jan 2023 | มงคลชีวิต 26 #ความกตัญญู [6601-3d] | 00:59:08 | |
กตัญญู หมายถึง การรู้คุณ ซึ่งต้องเห็นด้วยปัญญา ส่วนกตเวที หมายถึง การแสดงออก กระทำตอบ แต่ความกตัญญูในที่นี้ เป็นเรื่องของในภายใน คือ รู้คุณ เห็นคุณค่า ของธรรมะในหัวข้อต่างๆ ที่ลึกซื้งลงไป Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
10 Jan 2023 | มงคลชีวิต 27 #ฟังธรรมตามกาล [6602-3d] | 00:54:09 | |
การฟังอะไรที่ฟังแล้ว ทำให้จิตใจสูงขึ้น ดีขึ้น หมายถึง มีความสงบขึ้น ฟังแล้วทำให้เกิดกุศลธรรมได้เพิ่มขึ้น ดีขึ้น นั่นเป็น การฟังธรรม ซึ่งดูจากประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราเอง กับผู้อื่น และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันนี้ และในเวลาต่อๆ ไป ฟังธรรมแล้วเข้าใจอรรถะ เข้าใจในธรรมะแล้ว จะบรรลุธรรมเป็นวิมุตติหรือไม่ ก็จะต้องมีปราโมทย์ มีปีติ จิตสงบ มีกายสงบแล้ว มีความสุขในภายใน จิตตั้งมั่น บุคคลที่มีจิตตั้งมั่นมาตามกระบวนการนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว จิตที่ไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นยังละไม่ได้ ย่อมสิ้นไป ย่อมถึงการละได้ ย่อมได้บรรลุธรรมอันเป็นเครื่องเกษมจากโยคะ หมายถึง นิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
17 Jan 2023 | มงคลชีวิต 28 #ความอดทน [6603-3d] | 00:56:57 | |
ขันติ คือ ความอดทนนั้น คือ การรักษาภาวะปกติไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบอย่างไรก็ตาม เช่น เมื่อถูกกระทบให้ลุ่มหลงก็ไม่ลุ่มหลงไปตาม หรือถูกกระทบให้ไม่พอใจขยะแขยง ก็อดทนอยู่ในสภาวะแบบเดิมไว้ได้ ความอดทนนั้นจะมีลักษณะของความอดกลั้นไว้ไม่คิดที่จะก่อทุกข์ให้ผู้อื่น และตนเองก็มีความเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ด้วย ซึ่งความอดทนไม่เหมือนกับดื้อด้าน หรือเก็บกด เพราะความอดทนนั้นจะต้องประกอบด้วยปัญญา มีความเพียรชำระตัดสิ่งที่เป็นอกุศลธรรมออกไปจากจิตใจของเรา ประเภทของความอดทนแบ่งได้เป็น 4 ระดับ คือ 1. จากภายนอกกระทบ เช่น อากาศร้อน หนาว 2. จากทุกขเวทนาในกาย เช่น เจ็บป่วย 3. อดทนต่อความเจ็บใจ เช่น คำพูดล่วงเกิน 4. อดทนต่ออำนาจของกิเลส *ซึ่งหมายเอา 2 ข้อหลังนี้ อุบายในการฝึกความอดทน ให้ดูคุณธรรมจาก เตมิยชาดก ปุณโณวาทสูตร เวปจิตติสูตร เรื่องของความอดทน คือ ขันตินั้น จะทำให้จิตใจของเรามีความก้าวหน้าขึ้นไป เป็นเหมือนการบ่มให้คุณธรรมดีๆ เติบโตได้มากยิ่งขึ้น เป็นคุณธรรมของนักปราชญ์บัณฑิตที่เมื่อรักษาแล้วจะเป็นมงคลในชีวิตของเรานั่นเอง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
24 Jan 2023 | มงคลชีวิต 29 #เป็นผู้ว่าง่าย [6604-3d] | 00:56:41 | |
“โสวจสฺสตา” ความเป็นผู้ว่าง่าย สอนง่าย บอกง่าย ฟังเหตุผลกัน เหล่านี้เป็นประตูด่านแรกที่มีความสำคัญ ที่จะให้คำสอนอื่นๆ ธรรมะดีๆ เบื้องต้นเข้ามาได้หรือได้ หรือถ้านำมาใช้งานในระดับธรรมะขั้นที่สูงขึ้นไป เช่น ในลักษณะของมงคลที่อยู่ในลำดับท้ายๆ จะเป็นการปรับสภาพเตรียมใจให้พร้อมนำเอาธรรมะเบื้องสูงเข้าสู่จิตใจของเรา ซึ่งถ้าหัวดื้อแล้วอะไรที่มันจะสอนสั่งอธิบาย มันทำได้ยากไปหมดเลย แต่ก็ไม่ใช่จะทำไม่ได้ เพราะมันจะมีสักเวลาใดเวลาหนึ่งที่เขาจะบอกได้สอนได้ มันเปลี่ยนแปลงกันได้ คือจะมีบางครั้งที่บอกได้ง่าย ถ้าบอกง่ายแล้ว สิ่งดีๆ ความฉลาด มันก็จะเข้าไปภายในได้ ให้เป็นผู้ที่อดทนทำ รับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น มงคลความเป็นผู้ว่าง่ายนี้จึงต่อจากคุณธรรมที่ชื่อว่า “ขันติ” คือ ความอดทนทำตามคำสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนที่บางทีมันก็ทำได้ยาก ลักษณะของคนที่มีคุณสมบัติของความเป็นผู้ว่าง่าย ดูจากภายนอกที่พอจะเห็นได้ คือ 1) รับคําสอนด้วยดี 2) รับทําตามด้วยดี 3) รู้คุณของผู้ให้โอวาท) ซึ่งบอกง่ายหรือสอนง่ายมันก็ต้องมีการพูดคุย เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการใช้เหตุผลในสิ่งที่บอกหรือสอนนั้น และในการที่จะให้เขามาติเตียน บอกกล่าวบอกสอน ก็ต้องมีเงื่อนไข ซึ่งในธรรมวินัยนี้เราเรียกว่า “การปวารณา” คือ ออกตัวให้บอกสอนได้ ส่วนวิธีการทําให้เป็นคนว่าง่ายนั้นก็คือ การเห็นโทษของความว่ายากและเหตุที่ทําให้ว่ายาก 16 อย่าง และการทำในมงคลข้อต่างๆ ก่อนหน้านี้ที่ผ่านมาทั้ง 27 ข้อ จะทำให้เราเป็นคนว่าง่ายแน่นอน และซึ่งยิ่งถ้าเราเพิ่มสัดส่วนการว่าง่ายในจิตใจของเรา มันก็เป็นการเปิดประตูให้ความฉลาดคือปัญญา ให้คุณธรรมความดีอื่นๆ ต่างๆ เข้ามาได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
31 Jan 2023 | มงคลชีวิต 30 #การพบเห็นสมณะ [6605-3d] | 00:56:52 | |
สมณะ คือ ยอดคนดีทางธรรม เป็นผู้ที่สงบจากการทำบาป (กิเลส) การเห็นสมณะจะมีได้ก็ต่อเมื่อเรารู้จักสมณะ ถ้าไม่รู้ ถึงจะเห็นก็เหมือนไม่เห็น อย่างในเรื่องกามนิตที่เที่ยวตามหาพระพุทธเจ้า เมื่อได้พบแต่กลับไม่รู้จักท่าน การเห็นจึงไม่เกิดผล สมณะจะมีความ “สงบตัว” คือ ไม่แสดงกิริยาร้าย เช่น ทุบตี ทำร้าย ฆ่าฟัน ชิงดีชิงเด่น ไม่ก่อความวุ่นวายไม่ว่าจะเพื่ออะไร, “สงบปาก” คือ ไม่เป็นคนปากร้าย ไม่นินทาว่าร้าย ไม่ตีกันด้วยปาก, “สงบใจ” คือ ใจสงบจากบาป จิตใจเต็มไปด้วยเมตตาไม่เป็นภัยต่อผู้ใด สมณะนั้น ย่อมไม่ทําอันตรายใคร, ไม่เห็นแก่ลาภ, ฝึกตน กิจวัตรของพระ, บําเพ็ญตบะ ละกิเลส การเห็นสมณธรรมในสมณบุคคล (เห็นด้วยปัญญา) เป็นทัสสนานุตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม) คือ ทำให้เกิดศรัทธา เป็นทางไปสู่พระนิพพาน การเห็นสมณะอย่างถูกต้องแบบนี้จึงจะเป็นมงคล Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
07 Feb 2023 | มงคลชีวิต 31 #การสนทนาธรรม [6606-3d] | 00:58:23 | |
ธรรมสากัจฉา หรือแปลกันว่า สนทนาพูดคุยธรรมะ จะต้องมีสองฝ่ายผลัดกันฟัง-ผลัดกันพูดให้เหมาะสมกับกาละ “ผู้พูด”จะต้องมีสัมมาวาจา เป็นวาจาสุภาษิต “ผู้ฟัง” ต้องควบคุมใจให้ฟังเอาธรรมะเข้าสู่ใจ “การสนทนาธรรมะ” จึงต้องรู้จังหวะที่จะพูดที่จะฟัง ต้องระมัดระวัง และต้องคอยควบคุมใจไม่ให้กิเลสออกมาตีกัน วิธีสนทนานั้น ใช้หลักอยู่ 3 อย่าง คือ สนทนาในธรรม - เรื่องที่สนทนาให้อยู่ในวงธรรมะ ไม่ออกนอกวง สนทนาด้วยธรรม – ไม่แสดงกิริยาวาจาให้ผิดธรรมะ มีธรรมะอยู่ในใจ สนทนาเพื่อธรรม – เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งผู้ฟัง และผู้พูด ได้ความรู้ในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป การที่เราจะเข้าถึงธรรมะได้สะดวกนั้น ต้องไม่ติดสมมุติของโลก คือ ใช้หลัก “ธรรมวิจยะ” การเลือกเฟ้นธรรมในการแยกธรรมดี และไม่ดีออกจากกัน เลือกธรรมที่เหมาะสมมาปฏิบัติ และรู้ว่าอะไรเป็นโลกบัญญัติ และอะไรเป็นสัจธรรม จะได้ปล่อยวางบัญญัติโลกได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
14 Feb 2023 | มงคลชีวิต 32 #ความเพียรเผากิเลส [6607-3d] | 00:56:33 | |
ในพุทธศาสนา การบำเพ็ญตบะ คือ การเพียรเผากิเลส จะมุ่งเน้นมาในจิตใจ ซึ่งศาสนาอื่นนั้น มุ่งเน้นมาในทางกาย ชนิดของกิเลสนั้น มีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล คือ กิเลสอย่างละเอียด ทำให้เกิดโมหะ เช่น บุญ ทำให้เกิดการยึดถือเมาบุญได้ และฝ่ายอกุศล ราคะ โทสะ โมหะ กิเลสทั้งสองชนิดนี้ ทำให้เราเวียนไปสูง-ไปต่ำ วนอยู่ในวัฏฏะ การบำเพ็ญตบะ จึงจำเป็นต้องอาศัยความอดทนอย่างยิ่งในการเผากิเลสที่อยู่กับเรามานานให้หลุดลอกออก ถ้าเราอดทนไม่ได้ก็คือ “ตบะแตก” การอดทนนั้นจึงต้องประกอบไปด้วยปัญญา
วิธีทำตบะ คือ ข้อปฏิบัติทั้งหมดที่ฝืนความต้องการของกิเลส ได้แก่ สัลเลขธรรม-การขัดเกลากิเลส และธุดงควัตร 13-การกำจัดกิเลส ตบะในชีวิตประจำวัน ทำได้ด้วยการ “มีสติ” สำรวมอินทรีย์ มีหิริโอตตัปปะจะเป็นเหตุให้เกิดอินทรียสังวร มีศีล สมาธิ และปัญญา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
21 Feb 2023 | มงคลชีวิต 33 #การประพฤติพรหมจรรย์ [6608-3d] | 00:56:33 | |
มงคลข้อนี้ เป็นการเดินทางจากโลกียะไปสู่โลกุตระ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจครั้งยิ่งใหญ่ เปรียบเหมือนท่าอากาศยานต่อแดนระหว่างภาคพื้นดินกับภาคพื้นเวหา จิตของคนเราแบ่งภูมิชั้นของจิตได้เป็น 2 ระดับ 4 ภูมิ คือ ระดับโลกิยภูมิ (วนเวียนอยู่ในโลก) ได้แก่ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และ ระดับโลกุตรภูมิ คือ ภูมิจิตของพระอรหันต์ ความสุขจากภูมิ 2 ระดับนี้ก็แตกต่างกัน คือ ความสุขในภูมิโลกีย์เป็นสุขระคนด้วยทุกข์เหมือนจะมีสุขแต่ไม่มี เป็น “จิตวิ่งวุ่น” เปรียบได้กับพยับแดด ส่วนความสุขโลกุตรภูมิเป็นสุขคงที่ ผู้ที่เข้าถึงก็มี “จิตคงที่” เพราะเจอสุขที่เข้าถึงได้ การประพฤติพรหมจรรย์ คือ พยายามกำจัดความรู้สึกทางเพศเป็นการประพฤติตัวอย่างพรหม ในศาสนาอื่นเพื่อเข้าถึงพรหมโลก ส่วนในทางพุทธไปได้สูงกว่านั้น คือบรรลุถึงโลกุตระ ข้อวัตรพรหมจรรย์มี 10 อย่าง 4 ชั้น คือ ชั้นต่ำ กลาง สูง และชั้นพรหมจรรย์ (สำเร็จอธิสิกขา 3 ) แต่ละขั้นจะมีการรักษาศีลและการปฏิบัติควบกันไปเป็นระยะๆ และเข้มข้นขึ้นตามชั้น Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
28 Feb 2023 | มงคลชีวิต 34 #เห็นอริยสัจและทำให้แจ้งในนิพพาน [6609-3d] | 00:57:15 | |
ในทางปฏิบัติเราจำเป็นจะต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้หรือเห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากความทุกข์ความแก่และความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ทรงค้นพบนี้เรียกว่า “ อริยสัจ 4 ” การเห็นอริยสัจ (ญาณในอริยสัจ 4) ที่แท้จริงนั้นต้องเห็นโดยมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 จึงจะเป็นความพ้นทุกข์ที่แท้จริงคือเป็นจิตที่พ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นความแจ้งในนิพพาน
นิพพานธาตุ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สอุปาทิเลสนิพพาน คือ ยังมีชีวิตอยู่ อินทรีย์ห้ายังคงอยู่ เสวยเวทนาอยู่ และ อนุปาทิเลสนิพพาน คือ การดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิง Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
07 Mar 2023 | มงคลชีวิต 35 #จิตที่ไกลจากกิเลส [6610-3d] | 00:56:55 | |
เป็นมงคลชีวิตเบื้องสูงที่เดินทางมาถึง 4 ข้อสุดท้าย เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือ จิตที่ไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์กระทบก็ไม่ไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพึงพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์กระทบก็ไม่หวั่นไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบไปด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ จิตไม่โศก (จิตที่บรรลุนิพพานแล้ว) “ความโศกเกิดจากความรัก เพราะมีรักจึงมีโศก” ความรักเปรียบเหมือนยางเหนียวทำให้จิตติดอารมณ์นั้น พอความรักหายไปก็เศร้าโศก จิตของพระอรหันต์ท่านไม่มีรัก เพราะฉะนั้นจิตจึงไม่โศก จิตหมดธุลี ธุลี คือ ความเศร้าหมองของจิตที่เกิดจากเทือกของกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) จะกำจัดกิเลสได้ก็ด้วย อริยมรรค 8 จิตหมดธุลี คือ จิตที่พ้นแล้วจากกิเลส จิตเกษม เป็นจิตที่ถึงแดนเกษมคือแดนปลอดภัยจากกิเลสเครื่องกวนใจ ตัดเครื่องผูกรัด คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฎฐิโยคะ อวิชชาโยคะ พ้นแล้วจาก ความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
14 Mar 2023 | มงคลชีวิต 36 #สรุปส่งท้ายชุดมงคลชีวิต [6611-3d] | 00:58:23 | |
มนุษย์เรา ล้วนแต่ต้องการสิ่งที่ดีงาม เป็นมงคลแก่ชีวิตของตนทั้งสิ้น แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่ามงคลคืออะไร และอะไรที่เป็นมงคล มงคล 38 ประการนี้ เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้นจนถึงเบื้องปลายสูงสุด เมื่อเราน้อมเอามาปฏิบัติย่อมเป็นมงคลเกิดขึ้นแก่ชีวิตของตน นำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ชีวิต Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
21 Mar 2023 | ประตูแห่งอมตะธรรม 11 บาน [6612-3d] | 00:54:23 | |
พระอานนท์แสดงธรรมโปรดทสมคหฤบดี ชาวเมืองอัฏฐกะ โดยมีเนื้อความดังนี้ว่า “บุคคลเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ มีจิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้“ ธรรมอันเป็นประตูแห่งอมตะธรรมที่เมื่อเข้าถึงแล้ว อันได้แก่ รูปฌาน 4 อัปปมัญญา 4 และอรูปฌาน 3 (แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง) ที่เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
28 Mar 2023 | วิชชาดับอวิชชา [6613-3d] | 00:51:34 | |
ธรรมชาติของมรรค 8 เมื่อเราปฏิบัติตามมรรค จะทำให้คลายความยึดถือไปในตัวอยู่แล้ว ความยึดถือ คือ อุปาทานที่มีเหตุมาจากตัณหาที่ถูกอวิชชาปิดบังเอาไว้ อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ 4 เราจะดับอวิชชาได้ ก็ต้องทำวิชชาให้เกิดมี คือ ความรู้แจ้งในอริยสัจ 4 และเส้นทางสู่ความรู้แจ้ง หรือระบบสู่ความดับทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประกาศชี้ทางไว้ให้แล้ว นั่นคือ “อริยมรรคมีองค์ 8” คือ เส้นทางให้เราหลุดออกจากอ่างวังวนของวัฏฏะนี้ คือ เส้นทางสู่พระนิพพาน Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. | |||
04 Apr 2023 | ผัสสะเครื่องสอบอริยมรรค [6614-3d] | 00:58:22 | |
เมื่อเรายังคงมีชีวิต และยังคงอาศัยอยู่บนโลก เราคงหลีกเลี่ยงเรื่องของโลกไม่ได้ กล่าวคือต้องเจอเรื่องราวผัสสะต่างๆ ทั้งสุข และทุกข์เป็นธรรมดา แต่เมื่อเจอผัสสะที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจแล้ว เรามีสติแยกแยะเห็นความไม่เที่ยงในผัสสะต่างๆเหล่านั้นได้หรือไม่ เรายังคงรักษาจิตให้อยู่ในมรรคได้หรือไม่? ผัสสะจึงเป็นเครื่องทดสอบของนักปฏิบัติที่จะมาเดินตามมรรค ตราบใดที่ยังคงมีสฬายตนะย่อมมีผัสสะเป็นธรรมดา และเมื่อมีผัสสะแล้วก็ย่อมมีเวทนาทั้งสุขและทุกข์ เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นคุณจะหลงเพลินไปกลับเวทนานั้นไหม จะมีอกุศลเกิดขึ้นไหม จะเดินตามมรรคได้หรือไม่ และแน่นอนผัสสะย่อมอาศัยอยู่คู่กับอายตนะนี้ไปตลอดชีวิต และเราก็ย่อมเจอผัสสะไปตลอดชีวิตนี้ด้วยเช่นกัน แต่เราจะอยู่เหนือผัสสะได้ ด้วยการเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ใช้สติ สมาธิ และปัญญาใคร่ครวญเห็นตามความเป็นจริงในผัสสะต่างๆ ทั้งหลายที่อาศัยกายนี้เป็นแดนเกิด จะเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงได้ด้วยปัญญา Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information. |